คลื่นดิจิทัล ภัยเงียบที่ต้องระวัง

|
ในวันที่โลกก้าวกระโดดและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ทำให้เราได้เรียนรู้ และสนุกเพลิดเพลินไปกับโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายๆ แต่รู้ไหมคะว่ายังมีเรื่องของ “คลื่นดิจิทัล” ภัยเงียบ ที่ต้องระวังเป็นอย่างดี!
วันนี้ประเด็นเด่น สกศ. มีเคล็ด (ไม่) ลับ มาฝากค่ะ เรียกได้ว่าเป็นการรู้เท่าทันดิจิทัล เพื่อที่เราจะได้โลดแล่นในโลกออนไลน์ได้อย่างสบายใจ หมดกังวลเรื่องปัญหาต่างๆ ได้แน่นอน!
.
1) ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์มากเกินไป
- ให้ข้อมูลได้เท่าที่จำเป็น บางคนชอบเช็กอินบอกตำแหน่งหรือกิจกรรมที่ทำทุกที่ทุกเวลา เราต้องคิดเสมอว่าทุกครั้งที่เราโพสต์อะไรต่างๆ ลงไปล้วนแต่เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเอาข้อมูลเราไปใช้ต่อได้หรือติดตามเราได้ง่ายกว่าเดิม
.
2) ป้องกันการถูกคุมคามและขู่กรรโชกบนโลกไซเบอร์ด้วยการไม่ติดต่อหรือให้ข้อมูลส่วนตัวกับคนที่ไม่รู้จัก
- รวมทั้งไม่ออกไปพบคนที่รู้จักกันบนโลกออนไลน์เท่านั้นเพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าข้อมูลของอีกฝ่ายเป็นข้อมูลจริงมากน้อยแค่ไหน... เซฟตัวเองไว้เป็นดีที่สุดค่ะ
.
3) หากเกิดการ Cyberbullying หรือคุกคามบนโลกออนไลน์
- สิ่งสำคัญที่สุดคือการ ‘เก็บหลักฐาน’ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกรูปภาพหรือบทสนทนาออนไลน์ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขอรับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้
.
4) หยุด Fake News ได้ที่ตัวเรา เมื่อได้รับ ‘ข่าว’ อย่าส่งต่อทันที
- ต้องตรวจสอบให้แน่ใจถึงความถูกต้องของข่าวและแหล่งที่มาก่อน เพราะถ้าเราส่งต่อหรือเผยแพร่ข่าวลวง (Fake news) ตัวเราเองอาจกลายเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเนื่องจากเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลเท็จได้
.
5) มีสติก่อนกดแสดงความคิดเห็น เตือนตัวเองอยู่เสมอว่าข้อความรุนแรงหรือโจมตีประสงค์ร้ายเป็นสิ่งที่ผิด
- บางครั้งเราอาจจะแสดงความคิดเห็นด้วยโทสะ เมื่อใจเย็นลงได้กดลบข้อความทิ้งไป แต่มีผู้ไม่ประสงค์ดีบันทึกไว้ก็อาจส่งผลให้เรากลายเป็นการทำผิดกฎหมายได้เช่นกัน
.
6) สำหรับการใช้งานสำหรับ ‘เด็ก’ ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด
- เคล็ด (ไม่) ลับ ในการลดความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ คือการตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในพื้นที่ที่คนในบ้านสามารถมองเห็นได้ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการใช้งาน ติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยและปรับปรุงให้ทันสมัย
.
6 เคล็ดลับง่ายๆ แต่ทำให้เรารู้เท่าทันเจ้าภัยเงียบได้แน่นอนค่ะ
อย่าลืมนะคะ... เล่นโซเชียลให้สนุก ต้องมีสติทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคตค่ะ
อ่านบทความนี้ต่อได้ที่ วารสารการศึกษา ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (หน้าที่ 78-79)
https://anyflip.com/ykkws/dcta/
***********************************
ติดตามข่าวสารได้ที่
Facebook : OEC News สภาการศึกษา
Youtube : OEC News สภาการศึกษา
LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews

