เพราะโลกเปลี่ยนไป ถึงเวลาเราเปลี่ยนแปลง สภาการศึกษาเตรียมพร้อมกำลังคนสู่ศตวรรษที่ 21

image

 

ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องปรับตัวให้พร้อม ถึงเวลาเตรียมกำลังคนเข้าสู่ 'ศตวรรษที่ 21’ หรือ โลกยุคดิจิทัล อย่างเต็มรูปแบบ

 

เมื่อเทคโนโลยีก้าวกระโดดไปไกล นอกจากเราจะต้อง Up-Skill และ Re-Skill  แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การเรียนเพื่อใช้ในชีวิตจริง  เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะและนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างทันโลกทันเหตุการณ์ เป็นการเตรียมพร้อมในการทำงานและการใช้ชีวิตในโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง เพราะการเรียนรู้นั้นไม่จำกัดอายุ

 

เพราะความรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ทำให้หัวใจสำคัญของการศึกษาแนวใหม่ คือ การเตรียมผู้เรียนให้พร้อมเรียนรู้ เพื่อนำไปปรับใช้และรับมือกับความท้าทายใหม่ๆในอนาคตอยู่เสมอ

 

ไม่มีคำว่าช้าเกินไปสำหรับการเรียนรู้ มาเริ่มเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเองไปพร้อมกัน

 

 

เริ่มต้นกันที่ “เด็กปฐมวัย” (ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุครบ 6 ขวบ)

 

ปฐมวัย ถือเป็นช่วงสำคัญที่สุดของการวางรากฐานในการพัฒนามนุษย์ เพราะในช่วงนี้สมองจะมีพัฒนาการสูงที่สุด ส่งผลต่อสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ และทักษะอื่นๆในอนาคต สภาการศึกษาได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำ “พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562”  และ “มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562” เพื่อช่วยดูแลทั้งด้านสถานที่ สนับสนุนทักษะครูพี่เลี้ยงและส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนเริ่มวัยประถมศึกษาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพต่อไป
 

 

หมดยุคของการอ่านและท่องจำเพียงอย่างเดียว

 

“กรอบฐานสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน“ ในช่วง "ประถมและมัธยมศึกษา” ที่สภาการศึกษาและทีมนักวิจัยจากคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ร่วมกันออกแบบขึ้น เพื่อนำไปปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้ให้ผู้เรียนฝึกทักษะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อชีวิตจริง ทำให้เด็กๆ ได้รู้จักตัวเองเพื่อนำไปต่อยอดทางการศึกษาและการทำงานในอนาคตนั่นเอง

 

 

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานโลก

 

สำหรับ "อาชีวศึกษา" นั้น สภาการศึกษาได้เตรียม “แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการศึกษาตามช่วงวัย”  ที่ให้ความสำคัญถึงส่งเสริมทักษะการทำงานตามศักยภาพ ความถนัด ความชอบ อีกทั้งมีการจัดทำ “กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ” เชื่อมโยงคุณวุฒิการศึกษากับมาตรฐานอาชีพส่งเสริมการเทียบเคียงกับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน ทำให้เด็กไทยมีโอกาสทางการทำงานที่กว้างขึ้น  เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคต
 

 

เพราะการเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง

 

ระดับ “อุดมศึกษา” ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่หรืออยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนรู้ได้ จึงทำให้เกิดระบบธนาคารหน่วยกิต หรือ เครดิตแบงก์  ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อภาคแรงงานกับภาคการศึกษาเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์สำหรับการกลับเข้าเรียนในสถาบันการศึกษา การต่อยอดการเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนสายงานไปสู่อาชีพที่ใฝ่ฝัน

 

 

การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีใครแก่เกินกว่าเรียนรู้ได้

 

การศึกษาสำหรับ "ผู้สูงวัย" หัวใจเกินร้อยจะพาไปเรียนรู้สังคมใหม่ๆ พร้อมทั้งเปิดโลกการเรียนรู้เพื่อช่วยสร้าง Happy Retirement ให้ชีวิตวัยเกษียณมีความสุขได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพ การปรับตัวกับสังคมยุคใหม่ อีกทั้งยังมีโครงการสนับสนุนปราชญ์ท้องถิ่น ครูภูมิปัญญาไทย เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชนไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลาอีกด้วย
 

 

เพราะการเรียนรู้...อยู่กับเราตลอดชีวิต

 

สภาการศึกษา ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ทันยุคสมัยใหม่
และเตรียมกำลังคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21  ไปพร้อมๆ กันอย่างมีคุณภาพ

 

 

 

***********************************
ติดตามข่าวสารได้ที่

Facebook : OEC News สภาการศึกษา
Youtube : OEC News สภาการศึกษา
LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews

 

 

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด