เปิดผลการสำรวจความคิดเห็น "การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนช่วง COVID-19"

image

 

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้จัดทำแบบสำรวจ เรื่อง "การเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1/2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)"

โดยสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 2,372 คน ระหว่างวันที่ 10-19 มิถุนายน 2563 ผลปรากฏดังนี้

 

 

1. ความพร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1/2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                                                     หน่วย : ร้อยละ

ความพร้อม

ภาพรวม

กทม.

ภาคกลาง

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใต้

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พร้อม

90.2

89.1

89.0

90.9

90.9

93.4

86.4

ไม่พร้อม

9.8

10.9

11.0

9.1

9.1

6.6

13.6

 

2. รูปแบบการเตรียมความพร้อมของผู้บริหารสถานศึกษา ครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563
 

อันดับที่

รูปแบบการเตรียมความพร้อม

ร้อยละ

1

จัดให้มีแอลกอฮอล์เจล

94.8

2

สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา

94.4

3

ตั้งจุดคัดกรองวัดไข้

92.7

4

เว้นระยะห่างในการจัดที่นั่งภายในห้องเรียน โรงอาหารและลานกิจกรรม

90.3

5

กำหนดให้มีทางเข้า – ออก ทางเดียว

80.6

6

งดกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เน้นเรียนเฉพาะวิชากลุ่มสาระหลัก

78.5

7

ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และรูปแบบตารางเรียน ให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน

77.9

8

เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับนักเรียนและผู้ปกครองก่อนเปิดภาคเรียน หรือหากนักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้

77.2

9

จัดหาสื่อความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการป้องกันควบคุมโรค COVID-19

75.7

10

เตรียมแผนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ หากนักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้

69.7

11

เตรียมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

64.7

 

3. ความกังวลของผู้บริหารสถานศึกษา ครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563

 

อันดับที่

ความกังวล

ร้อยละ

1

นักเรียนไม่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์

79.7

2

การกลับมาแพร่ระบาดของโรค COVID-19

79.6

3

นักเรียนได้รับความรู้ไม่เต็มที่

66.2

4

ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

64.8

5

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ต่างไปจากเดิม

55.3

6

การวัดและประเมินผลของนักเรียน

48.7

7

ทักษะของครูในการสอนออนไลน์และการใช้เทคโนโลยีในการสอน

47.3

8

นักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้

30.8

 

4. ความต้องการเร่งด่วนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ที่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู/อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุน

 

อันดับที่

ความต้องการเร่งด่วน

ร้อยละ

1

การสนับสนุนสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน เช่น สื่อการเรียนการสอนออนไลน์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

20.1

2

การสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับป้องกันและควบคุมโรค เช่น หน้ากากอนามัย face shield แอลกอฮอล์ เป็นต้น

19.5

3

งบประมาณสนับสนุนสถานศึกษาในการควบคุมและดูแลนักเรียนภายในโรงเรียน

18.3

4

มาตรการ/แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสภาวะวิกฤต เช่น โรคระบาด
ภัยธรรมชาติ เป็นต้น

7.5

5

อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับตรวจคัดกรอง

4.3

6

การพัฒนาทักษะของบุคลากรเพื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อสภาวะวิกฤต

1.5

7

จำนวนบุคลากรทางการศึกษาที่เพียงพอต่อการดูแลนักเรียน

1.1

8

จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนการสอนภายใต้ social distancing

0.7

 

***********************************
ติดตามข่าวสารได้ที่

Facebook : OEC News สภาการศึกษา
Youtube : OEC News สภาการศึกษา
LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด