ธนาคารหน่วยกิต" รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

image

 

 

“เครดิตแบงก์” หรือ “ธนาคารหน่วยกิต" เป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อภาคแรงงานกับภาคการศึกษาพัฒนาเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทั้งในเรื่องการเรียนและการงานไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อายุแค่ไหน ก็สามารถเรียนและสะสมหน่วยกิตไปแลกกับเครดิตแบงก์ได้ 

 

ส่วนหน่วยกิตที่สะสม ก็เหมือนกับค่าประสบการณ์ ซึ่งสามารถสะสมได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษานอกระบบ (กศน.) การเรียนในโรงเรียนหรือประสบการณ์การทำงาน แล้วนำมาเทียบโอนเป็นหน่วยกิต สามารถสะสมไว้สำหรับเทียบคุณวุฒิหรือความสามารถสมรรถนะในการทำงาน

 

ธนาคารหน่วยกิต คืออีกหนึ่งประตูที่เปิดทางขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กับคนไทยอย่างเต็มที่ เพราะการเก็บหน่วยกิตไม่จำกัดแค่ในวัยเด็กที่ต้องเข้าเรียน แต่คนไทยทุกๆ คนที่สามารถสะสมได้ ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้คนไทยทุกคนได้เรียนรู้ทันโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่งกัน

 

 

 

ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา อธิบายถึงระบบธนาคารหน่วยกิตว่า เป็นการสะสมความรู้ มีระบบกลางเก็บข้อมูลว่าได้ศึกษาวิชาใดมาบ้าง บางวิชาอาจอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา อาชีวศึกษา หรืออุดมศึกษา บางวิชาอาจไม่ได้ระบุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระบบ แต่เป็นวิชาพัฒนาทักษะ 

 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา ซึ่งโดยทั่วไปเรียนปริญญาตรี 4 ปี 120 หน่วยกิต ประมาณ 40 รายวิชา เช่น ในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีโครงสร้างหลักสูตรที่คล้ายขึ้นกันประมาณ 36 รายวิชา ผู้เรียนสามารถเรียนที่สถาบันใดก็ได้ให้ครบ 120 หน่วยกิต และรับปริญญาในมหาวิทยาลัยที่ทำการศึกษาในหน่วยกิตมากที่สุด 

 

เมื่อระบบธนาคารหน่วยกิต ผู้เรียนสามารถเรียนปริญญาที่ 2 หรือ 3 หลักจากจบหลักสูตรแรก หรือต้องการเรียนเพื่อเปลี่ยนสายอาชีพโดยไม่จำเป็นต้องกลับเรียนใหม่ทั้ง 120 หน่วยกิต เพราะสามารถเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมในธนาคารหน่วยกิตไว้แล้ว เช่น อาจจะสะสมมาแล้วประมาณ 60 หน่วยกิต ใช้เวลาเรียนต่อประมาณ 2 ปี ก็จะได้ปริญญาที่ 2 เพื่อเพิ่มทักษะหรือเปลี่ยนสายอาชีพได้

 

คลิปสัมภาษณ์ และตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบธนาคารหน่วยกิตของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในรายการมองมุมใหม่ ได้ที่

>> www.youtube.com/watch?v=rr7QQeKDpdg

 

ติดตามเรื่องราวน่ารู้ของเครดิตแบงก์หรือธนาคารสะสมหน่วยกิตกันเพิ่มเติม ได้ที่ 

>> www.youtube.com/watch?v=yPA8B84SnKw

 

 

***********************************

ติดตามข่าวสารได้ที่

 

Facebook : OEC News สภาการศึกษา

Youtube : OEC News สภาการศึกษา

LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด