การศึกษาไทยใช้ Big Data ช่วยมองปัญหา พัฒนาตรงจุด

image

อัจฉรา ทังนะที

ขวัญเมษา จงนุเคราะห์

สำนักสื่อสารองค์กร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

 

รู้จัก Big Data จริงแท้แค่ไหน

Big Data คือ คำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า ไฟล์เอกสาร รวมถึงรูปภาพ Big Data สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ช่วยในเรื่องการกรองข้อมูล การวิเคราะห์ และแสดงผล ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจกับการนำ Big Data มาใช้ในการจัดการกับธุรกิจ ไม่เว้นแต่ภาครัฐก็เริ่มจัดทำฐานข้อมูล Big Data ของตนเองแล้ว

 

ภาพจาก : www.techtrendai.com

 

สำหรับการศึกษาไทย กระทรวงศึกษาธิการมีระบบฐานข้อมูลกลาง ศูนย์กลางข้อมูลทางการศึกษา (Education Data Center : EDC) แต่การมีข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาอย่างเดียว เพียงพอต่อการขับเคลื่อนเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือไม่ ? ใครเป็นคนนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประเมินความต้องการ และความพร้อมด้านการศึกษา เพื่อวางแผนส่งเสริมให้แต่ละพื้นที่มีศักยภาพที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกันได้ แล้วใครล่ะ? คือคนที่ทำหน้าที่เหล่านั้น

 

 

สภาการศึกษา เชื่องโยง Big Data ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ

คุณอรรถการ ตฤษณารังสี กรรมการสภาการศึกษา ให้ความเห็นว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่เว้นแม้แต่ภาคการศึกษาไทยที่ต้องปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วย ในฐานะกรรมการสภาการศึกษาผู้แทนภาคเอกชนที่ทำเรื่องระบบฐานข้อมูลและตัวชี้วัด ได้วางแผนงานร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล และผู้เชี่ยวชาญอีกหลายท่าน โดยปรับวิถีคิดในการทำงานด้วยคำว่า “วิสัยทัศน์ มองไปข้างหน้าอย่างเดียวคงไม่พอ” แต่ต้องมีวิสัยทำ การลงมือทำด้วยหลักคุณภาพ ด้วยหลักนิติธรรม วิสัยทน คือต้องอดทนทำอย่างต่อเนื่อง แม้สิ่งแวดล้อมจะเป็นทั้งแรงสนับสนุนและอุปสรรคจะต้องสามารถที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้ วิสัยแท้ ต้องทำทุกสิ่งที่เป็นจริง ไม่สร้างภาพ

 

ช่วงนี้หลายคนมีความกังวลว่า เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้กับการเรียนการสอน จนเกิดเป็นการเรียนออนไลน์แบบนี้แล้ว จะยิ่งขยายช่องว่างของการศึกษาไทยมากขึ้นหรือไม่

 

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตั้งทีมเพื่อนำข้อมูลสารสนเทศหรือ Big Data จากระบบฐานข้อมูลกลาง ศูนย์กลางข้อมูลทางการศึกษา (Education Data Center : EDC) ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ระบุข้อมูลรายบุคคลตามเลขบัตรประชาชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยบูรณาการระบบเข้ากับฐานข้อมูลทะเบียนประวัติผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนำข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม ด้านสาธารณสุข ด้านบริหารจัดการ ด้านติดตามและประเมินผล นำ Big Data ที่มีใช้วิเคราะห์และวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องและทันต่อความต้องการของพื้นที่ เช่น จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาของแต่ละพื้นที่ เป็นข้อมูลที่ชี้ถึงความต้องการในปัจจุบัน ใช้วางแผนอนาคตประเมินอัตราสอบแข่งขันบรรจุใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ .. “การลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย ไม่สามารถลดทีเดียวพร้อมกันได้ ควรเพิ่มความสามารถของคนในแต่ละพื้นที่ และค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง ” ซึ่งสภาการศึกษากำลังผลักดันให้เกิดการจัดตั้งศูนย์สถิติการศึกษาแห่งชาติ (National Bureau of Education Statistic) เป็นหน่วยงานรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ให้เกิดขึ้นจริงภายในเร็วๆนี้

 

ศูนย์สถิติการศึกษาแห่งชาติ ทำอะไร

 

ในอนาคตข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา (Big Data for Education) คือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ภาครัฐเห็นถึงความต้องการของแต่ละพื้นที่ รวมถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด แม้จะค่อย ๆ ขยับทีละนิด แต่ก็สามารถลดระยะห่างของความไม่เท่าเทียมให้เล็กลงได้ในที่สุด

 

 

 

 

***********************************
ติดตามข่าวสารได้ที่

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด