‘รศ.ดร.ประวิต’ เปิดโต๊ะหารือ NQF - CREDIT BANK แชร์วิชั่นกลไกการดำเนินงาน ปูทางการศึกษาไทย รับนโยบาย Anywhere Anytime

image

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 รศ.ดร.ประวิต  เอราวรรณ์ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน “การประชุมหารือเพื่อพัฒนาแนวทางการรับรองสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อปรับคุณวุฒิการศึกษาด้วยระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ” โดยมี นายสง่า แต่เชื้อสาย รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดร.ชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ พร้อมด้วย นางสาวกาญจนา หงส์รัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกลุ่มกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ นายเนติ รัตนากร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา นางโชติกา วรรณบุรี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา และข้าราชการและบุคลากรจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น 2 อาคาร 2 สกศ.

ที่ประชุมร่วมกันหารือและติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและแนวทางการรับรองสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติระบบธนาคารหน่วยแห่งชาติ เพื่อรับคุณวุฒิการศึกษาด้วยระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ในประเด็นความเป็นมาของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และการดำเนินงานของระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติที่ปัจจุบันได้มีการนำไปใช้พื้นที่นำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน เชียงใหม่ อุดรธานี ปทุมธานีและนครศรีธรรมราชเริ่ม ตลอดการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ จนกระทั่งการออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิตฯ เมื่อที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานแล้วจึงร่วมกันให้ข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานต่อไป พร้อมทั้งหยิบกรณีศึกษาต่าง ๆ มาร่วมอภิปรายเพื่อหาแนวทางการแปลง ‘ประสบการณ์อาชีพ’ ไปสู่ ‘สมรรถนะ เวลา และหน่วยกิต’ ตามระดับคุณวุฒิแห่งชาติ

สำหรับการประชุมครั้งนี้ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ทั้งสองหน่วยงานข้างต้นเห็นว่าแต่ละหน่วยงานมีรูปแบบการดำเนินงานอยู่ในรูปแบบของตนอยู่แล้ว รศ.ดร.ประวิต  เอราวรรณ์ เลขาธิการสภาการศึกษา เห็นว่า สอศ. มีการเทียบโอนความรู้อยู่แล้วซึ่งเป็นการเก็บหน่วยกิตให้ครบโครงสร้างตามกำหนด สามารถนำมาใช้ร่วมกับธนาคารหน่วยกิต โดยนำประสบการณ์เข้าไปอยู่ในธนาคารหน่วยกิตแล้วจึงนำมาต่อเติมให้สมบูรณ์ตามโครงสร้างหลักสูตร ในขณะที่ สกร. มีองค์ความรู้ เครื่องมือ และกฎหมายที่พร้อมสนับสนุนการดำเนินงาน โดยการนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติเข้ามาประยุกต์ใช้ด้วยจะทำให้การดำเนินงานเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับที่ รศ.ดร.ประวิต  เอราวรรณ์ ได้กล่าวไว้ในที่ประชุมว่า “อยากทำให้ NQF เป็นรูปธรรม และอยากให้เป็นทางเลือกใหม่ สำหรับคนที่มุ่งในเรื่องอาชีพไปเลย โดยไม่ต้องมานั่งเรียน” ซึ่งสอดรับกับแนวนโยบาย “เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime)” และ “Learn to Earn: การเรียนเพื่อการมีงานทำ และการมีรายได้ระหว่างเรียน”  ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะเพื่อประกอบอาชีพและสร้างรายได้ระหว่างเรียน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนสู่ความพร้อมในการแข่งขันในตลาดแรงงานต่อไป

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด