กระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อน“การศึกษาไร้รอยต่อ” สู่การปฏิบัติ มุ่งให้ผู้เรียน “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ”

image

วันที่ 12 ตุลาคม 2567 พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมงานสัมมนาวิชาการ Thailand Education Forum ครั้งที่ 2 หัวข้อ “10 โจทย์ใหญ่ ก้าวต่อไปการศึกษาไทยไร้รอยต่อ” พร้อมด้วย ดร.สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการและคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการสภาการศึกษา โดยมี รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม ผู้บริหาร ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำหรับภายใต้นโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ของกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบการศึกษาและการเรียนรู้ที่เข้ากับบริบทพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกพื้นที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาโดยไร้รอยต่อ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Anywhere Anytime สนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมร่วมบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนแนวคิด “การศึกษาไร้รอยต่อ” สู่การปฏิบัติ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้ตามความสนใจ เหมาะสมตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย เสริมจินตนากับการเรียนรู้ พร้อมทั้งขับเคลื่อนการศึกษาให้ผู้เรียน “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” สู่การพัฒนาเป็นบุคลากรที่จะนำประเทศให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ต่อไป

สำนักคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับโครงการจัดการความรู้และขับเคลื่อนระบบการศึกษาและการเรียนรู้ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการสนับสนุนให้เกิดการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศ โดยมีเป้าหมายในการสร้าง “การศึกษาไร้รอยต่อ (Seamless Education)” ในระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของประเทศไทย โดยร่วมเสวนาเส้นทางการเรียนรู้ของฉัน บทความวิชาการจากโครงการฯ พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “10 โจทย์ใหญ่ ก้าวต่อไปการศึกษาไทยไร้รอยต่อ” โดยยึดเอาผู้เรียนและประสบการณ์เรียนรู้ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง พิจารณาองค์องค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน โดยจัดหมวดหมู่ตามระดับความใกล้ชิดกับผู้เรียน 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 รอบตัวเด็ก (Microsystem) ระดับที่ 2 ระบบและความสัมพันธ์ (Mesosystem) และระดับที่ 3 กระบวนทัศน์และนโยบาย (Exosystem) เพื่อออกแบบระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นสามารถตอบโจทย์ผู้เรียน และเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาและการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ อันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาแนวคิด “การศึกษาไร้รอยต่อ” ในการนี้ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านวิจัยและการประเมินผลการศึกษา ได้เข้าร่วมการประชุมด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยของ สกศ. 

ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการพร้อมนำความคิดเห็น ประเด็นปัญหา พร้อมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วน นำมาปรับใช้พัฒนาเชิงนโยบายการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องและตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://drive.google.com/drive/folders/1UmOuZHAZ47iXsa2ZcoG43PbQK-3MmZvt?usp=drive_link

 

ภาพ/ข่าว : สำนักสื่อสารองค์กร

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด