สกศ. ร่วมติดตามและประเมินผลการศึกษา : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ สู่แนวทางการยกระดับการจัดการศึกษาระดับประเทศ

image

วันที่ 20 สิงหาคม 2567 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดการประชุม เรื่อง คณะทำงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ครั้งที่ 3/2567 โดยมีนายเหมพงศ์ ทวีกาญจน์เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วยนางอำภา พรหมวาทย์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา นางสาวกิ่งกาญจน์ เมฆา ผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักประเมินผลการจัดการการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการและบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น 3 อาคาร 56 ปี สกศ. พร้อม ควบคู่กับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Cisco WebEx  

คณะทำงานได้ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้ 
1) จัดทำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิตระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567
2) ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มของธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติต้นแบบ
3) ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ธนาคารหน่วยกิตระดับจังหวัด
4) จัดทำบทเรียนออนไลน์ (e-learning) หลักสูตรธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติและแนวทางการดำเนินงานสู่การปฏิบัติ
5) สร้างองค์ความรู้ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเผยแพร่แนวทางการดำเนินงาน

ต่อมาฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอสรุปผลเรื่อง การบูรณาการความร่วมมือเพื่อการติดตามและประเมินผลการศึกษาของประเทศ : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ จากการได้ดำเนินการลงพื้นที่ร่วมระดมความคิดเห็น ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อทราบการดำเนินการจัดการศึกษา สภาวการณ์การศึกษา การใช้ทรัพยากรทางการศึกษา รวมถึงการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการศึกษาของพื้นที่ โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 
1) โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษา การพัฒนาสมรรถภาพหรือการให้บริการทางการศึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนพิการและ/หรือเด็กในวัยเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษ การระดมทุนและบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดำเนินการแก้ปัญหาการออกกลางคัน 
2) คุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้ารับการทดสอบการศึกษาระดับชาติ O-NET การส่งเสริมทักษะการอ่านของผู้เรียน การส่งเสริมสรรถนะภาษาอังกฤษ (CEFR) ให้ผู้สำเร็จการศึกษา
3) ประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาฐานข้อมูลรายบุคคลด้านการศึกษา เพื่อใช้วางแผน บริหารจัดการ ติดตาม รวมทั้งประเมินผล และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต 
4) ระบบการศึกษาที่ตอบสนองบริบทที่เปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ส่งเสริมการจัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาเพื่อการมีงานทำและตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ ผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ

ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะฝ่ายเลขานุการฯ สำหรับด้านบริหารจัดการเนื่องจากบริบทพื้นที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นหน่วยงานการศึกษาควรกำหนดหลักสูตรที่ตรงตามความต้องการสถานประกอบการพื้นที่นั้น ๆ  ส่วนด้านคุณภาพการศึกษา การจัดการสอบควรให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของการสอบและความสำคัญเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพร้อมนำข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำไปบูรณาการความร่วมมือเพื่อการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสู่ระดับประเทศต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด