“SISAKET ASTECS: กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อคุณภาพผู้เรียน”

image

วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นายภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านประเมินผลการจัดการศึกษาได้รับมอบหมายจากดร. อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง การบูรณาการความร่วมมือเพื่อการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดยจัดขึ้น ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 

ในการนี้ นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร ประธานอนุกรรมการ นายเหมพงศ์ ทวีกาญจน์ รองประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน รวมถึงผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ อาทิ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โรงเรียนกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมประชุมด้วย

การประชุมวันนี้ ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมล้วนให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปพัฒนาการศึกษาทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่ง SISAKET ASTECS เป็นหลักสูตรการศึกษาที่ออกแบบโดยคนในพื้นที่ ตั้งต้นจากฐานทุนที่จังหวัดมีจุดเด่นในด้าน “เกษตรกรรม (Organic Agriculture) กีฬา (World class Sport) ท่องเที่ยว (Creative Tourism) นวัตกร (Innovative Entrepreneur) วัฒนธรรม (Culture Diversity) และจิตวิญญาณ (Sisaket Spirit)” ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนศรีสะเกษให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติในระยะต่อไป

จากนั้น คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาฯ คณะทำงาน และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้ารับฟังผลการดำเนินงานของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ณ โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายพนมไพร ปารมี รองปลัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ พร้อมด้วยนางชยุดา ไนยะกูล ผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครู กรรมการสถานศึกษา ผู้แทนเทศบาล และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่ประชุมได้อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นสำคัญ ดังนี้

1) เทศบาลเมืองศรีสะเกษ มีสถานศึกษาในสังกัด 11 แห่ง ที่เปิดสอนในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาที่เป็นโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมทั้งหมด ที่อาศัยการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ Active Learning Holistic Learning Thinking school ผ่านเครือข่ายความร่วมมือจากหลากหลายองค์กร อาทิ มูลนิธิสยามกัมมาจล สถาบันอาศรมศิลป์ มูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ 

2) โรงเรียนเทศบาล 3 (เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) เป็นโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในเรื่อง ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรการเกษตร (Agriculture Innovator) โดยมีกิจกรรมบูรณาการหน่วยข้าวมหัศจรรย์ ตลาดเด็กหัวการค้า 

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นท้าทายเพิ่มเติม อาทิ การวัดและประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเสริมหนุน แนวทาง Empowerment ครูและสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา การพัฒนาผู้เรียนเพื่อเตรียมพร้อมต่อการทดสอบ PISA 2025

ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่

https://drive.google.com/drive/folders/1PmZ63C98UaRcjTti9vI2Me1AFRDXjT_O?usp=drive_link

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด