สกศ. เปิดเวทีสานพลังสมัชชาการศึกษา เปลี่ยนเหลื่อมล้ำเป็นเสมอภาค ปรับมุมใหม่ตรงใจคนพื้นที่ ณ จังหวัดชัยภูมิ

image

วันที่ 26 มกราคม 2567 ดร.นิติ นาชิต รองเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมการประชุมยกระดับกลไกการมีส่วนร่วม “สมัชชาสภาการศึกษาระดับภูมิภาค (Regional Education Assembly)” ครั้งที่ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ โดยมี นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย ผศ.ดร.สานนท์ ด่านภักดี อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พล.ร.อ.สุวิทย์ ธาระรูป รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ดร.กอบภณ แสงสมบัติ ศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ ดร.อรอุมา ไชยเศษฐ ประธานสภาส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ ร่วมด้วย ผู้แทนสมัชชาการศึกษาจังหวัด สภาการศึกษาจังหวัด ผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัด ผู้แทนภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ/วิชาชีพ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

 

ที่ประชุมร่วมรับฟังเสวนา “สภาการศึกษา : แชร์ผลลัพธ์ ปรับมุมใหม่ สมัชชาการศึกษาแบบไหนตรงใจคนบ้านเรา” โดยนางสาวกรกมล จึงสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และ ผศ.ดร.กอบสุข คงมนัส มหาวิทยาลัยนเรศวร จากการ Focus Group ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ได้ผลมติที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ มีเกณฑ์การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนที่เหมาะสมกับบริบทของ สถานประกอบการ และเกณฑ์การเทียบโอนหน่วยกิตมีความชัดเจน มีหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพที่รับผิดชอบในการเทียบโอนหน่วยกิตทั้งการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษา และสมัชชาทำหน้าที่สร้างความร่วมมือประสานการจัดทำระบบ Credit Bank กับหน่วยงาน สถาบัน องค์กร  สถานประกอบการ แต่ละแห่งในและนอกพื้นที่ทั้งในระดับประเทศหรือต่างประเทศ สถานศึกษาปรับระบบการแนะแนวอาชีพที่ทันสมัย พัฒนาวิธีการสอนด้านความฉลาดรู้ทางการเงิน การลงทุน และดิจิทัลให้สามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงการประชาสัมพันธ์ข่าวสารการเข้าเทียบโอนคุณวุฒิเข้าถึงทุกช่วงวัย มติที่ 2 ระบบนิเวศการเรียนรู้ ยกระดับพื้นที่สาธารณะเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนสนับสนุนให้เกิดการใช้งานและการมีส่วนร่วมเป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงานในพื้นที่ พัฒนาการเรียนรู้และการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้แบบดิจิทัลให้เป็นรูปธรรมและทันสมัย

 

จากนั้นที่ประชุมร่วมรับฟัง เสวนา “คลินิกเพื่อนสมัชชาการศึกษา ประเด็น Best Practice จากสมัชชาที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ โดย ดร.อานันท์ รองพล กรรมการสภาส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ เป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยน กับสมัชชาภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ชัยภูมิ) ภาคเหนือ(เชียงราย) ภาคใต้(กระบี่) ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) เกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จการจัดตั้ง วิธีการแก้ปัญหาสมัชชาสภาการศึกษาในพื้นที่ ซึ่งในส่วนของจังหวัดชัยภูมิ มีการจัดการใน 6 ประเด็น คือ 1.การรวมตัวของคนในพื้นที่ที่มีแนวคิดร่วมกันจิตอาสาพร้อมร่วมทำงานในระดับพื้นที่ 2.องค์ประกอบหรือโครงสร้างการมีส่วนร่วม เชิญบุคคลหลากหลายอาชีพทุกภาคส่วนมาร่วมจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ 3.เครื่องมือการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ มีข้อมูลระบบฐานสารสนเทศชัดเจน 4.การสร้างเวทีหรือเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ระดับชาติ เป็นพื้นที่กลางในการพูดคุย รวมถึงเป็นเวทีในการขับคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ 5.มีแผนและทรัพยากรเพื่อการมีส่วนร่วม จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของจังหวัด มีแผนงานสร้างเครือข่ายครูสอนดี จัดสมัชชาภาพอนาคตคนไทยชัยภูมิ  6.การสร้างการรับรู้หรือการสื่อสารรณรงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือของภาคประชาชนในพื้นที่ การสร้างการรับรู้ฯเป็นการร่วมมือจากคนจำนวนมากในพื้นที่ ปัญหาที่พบในการช่วงที่ผ่านมา คือ ปัญหาด้านข้อกฎหมาย ด้านบทบาทหน้าที่ทับซ้อนกัน ทุนดำเนินงานและทรัพยากร จากนั้นมีการรับรองมติสมัชชาสภาการศึกษาระดับภูมิภาคร่วมกัน เพื่อสร้างความร่วมมือสานต่อสู่การสร้างสมัชชาระดับภูมิภาคในอนาคต ทั้งนี้ สกศ.จะรวบรวมข้อมูลที่ได้เพื่อจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการศึกษาในมุมมองฉากทัศน์อนาคต(Scenario) และปรับปรุงประเด็นและมติสมัชชาการศึกษาระดับภูมิภาค เพื่อเสนอเป็นระเบียบวาระในการประชุมสมัชชาสภาการศึกษาระดับชาติต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด