สกศ.ชวนพลิกหน้าวิชาประวัติศาสตร์ไทย ให้เหมาะกับคน GEN ใหม่ ในยุค AI ครองเมือง

image

วันที่ 6 มกราคม 2567  สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดเวทีเสวนาวิชาการ "เปิดโฉมหน้าวิชาประวัติศาสตร์ไทย : คน GEN ใหม่ เรียนเรื่องเก่าแบบไหนในยุค AI ครองเมือง" โดยมี ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.ประวีณา อัสโย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้   วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ  • ผศ.ดร. พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ว่าที่เรือตรี ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูผู้สอนสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนราชดำริ • ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินรายการโดย นางสาวณัชชาวีล์ วาณิชย์สุรางค์ ผู้ประกาศข่าว TNN • ดร.ชัชวาล อัชฌากุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและประเมินการบังคับใช้กฎหมายการศึกษา สกศ. และ ผู้สนใจ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ ควบคู่กับออกอากาศทางโทรทัศน์ ETV และ Facebook Live "ETV Channel" โดย Facebook Page "OEC News สภาการศึกษา" และ "Starfish Labz"ร่วมแชร์การ LIVE


 


ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยในยุคที่เทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทและกำลังกลายเป็นวิชาที่ไม่ได้รับความสำคัญ ศ.พิเศษธงทอง กล่าวว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนแบบเดิมกำลังถูกท้าทาย สิ่งที่เราเรียนรู้ในประวัติศาสตร์ ทั้งข้อเท็จจริง หรือข้อสันนิษฐาน ควรจะต้องมีการอธิบายชัดเจน ด้วยข้อมูลที่หลากหลายมาประกอบความคิดเห็น  ซึ่ง AI มีส่วนช่วยในการหาข้อมูลและประมวลผลได้ แต่ทั้งนี้ครูผู้สอนเองก็ต้องมีการพัฒนา Upskill ขึ้นมาให้ได้ที่จะตามเด็กให้ทัน 



เวทีเสวนายังได้แลกเปลี่ยนมุมมองความท้าทายใหม่ของการสอนวิชาประวัติศาสตร์ยุค AI ครองเมือง อาทิ Media literacy • Active learning • การพัฒนาครูและตำราเรียนที่อาจจะมีหลายปัจจัยซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเมืองหรือการปลูกฝังแนวคิดบางอย่าง ทำให้การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในไทยมีข้อจำกัด อีกทั้งชวนตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วคุณค่าของประวัติศาสตร์คืออะไร รวมถึงข้อเสนอแนะให้มีการนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในหลักสูตรมากขึ้น เป็นต้น


 


จากนี้ สกศ.ในฐานะหน่วยงานระดับนโยบายด้านการศึกษาของชาติจะมุ่งศึกษาวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ให้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การสร้างความภาคภูมิใจและหวงแหนในความเป็นไทยอย่างแท้จริง

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด