สกศ. รับฟังเสียงผู้ทรงคุณวุฒิ สะท้อนผลการจัดการศึกษา ต่อยอด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่

image

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาผลการจัดการศึกษาประกอบการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่พร้อมด้วย นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา คณะผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายรังสรรค์ มณีเล็ก ศาตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นางสาวบุษบา ใจสว่าง นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร นายทะนง โชติสรยุทธ์ นางสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน  นางสาวพรนภา มีชนะ นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายวิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ นางเอริกา เมษินทรีย์ เซ็น และนางสาวรัตนภรณ์ พันธ์พิริยะ ข้าราชการ และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมหารือ ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น 2 อาคาร 2 สกศ.

สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา นำเสนอผลการวิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ฉบับผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ฉบับผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ใน 5 ประเด็นวิเคราะห์ มีสาระสำคัญโดยสังเขป ดังนี้ 
ประเด็นที่ 1 เป้าหมายของการจัดการศึกษา/สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา: เน้นทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ครอบคลุมการศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการจำเป็นพิเศษ รวมถึงการสนับสนุนบริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษา
ประเด็นที่ 2 สถานศึกษา/ระบบการศึกษา/แนวทางการจัดการศึกษา/หลักสูตรและการประเมินผล: กำหนดแนวทางการบริการสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ความเป็นอิสระของสถานศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดตั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้
ประเด็นที่ 3 ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา: การกำหนดหน้าที่ครูอย่างชัดเจน การมีองค์กรของครู “คุรุสภา” ตลอดทั้งการพัฒนา การติดตาม ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประเด็นที่ 4 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการกำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา/
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา:
การบูรณาการกบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานรัฐ การจัดสื่อพัฒนาครู ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศข้อมูลรายบุคคล การจัดระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ประเด็นที่ 5 คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ/แผนการศึกษาแห่งชาติและทรัพยากรเพื่อการศึกษา/การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล: ใช้กลไกแผนการศึกษาแห่งชาติเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของการจัดการศึกษา 


จากนั้น ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเสนอแนะให้การกำหนดภารกิจและเป้าหมายต้องชัดเจน กำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ท้าทาย พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการ กลไกติดตามความต่อเนื่องและนำมาปรับปรุงรายปี สู่การวางทิศทางการจัดการศึกษาที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติเพื่อแก้ปัญหาประเทศ รวมถึงเพิ่มการเปิดกว้างในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้พร้อมรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบในปี 2572 

ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอไปวิเคราะห์สำหรับประกอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยให้เท่าทันสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมเวทีนานาชาติต่อไป



ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอไปวิเคราะห์สำหรับประกอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยให้เท่าทันสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมเวทีนานาชาติต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด