บอร์ดอนุกรรมการ กกส. ด้านวิจัย เช็กฟีดแบ็กงานการศึกษา พร้อมลุยต่อ Future Skills ปี 67

image

วันที่ 11 ตุลาคม 2566 ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านวิจัย เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมด้านการศึกษา ครั้งที่ 3/2566 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา ดร.ช่อบุญ จิรานุภาพ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คณะอนุกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากรและข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมหารือ ณ ห้องกำแหง พลางกูร ชั้น 3 อาคาร 56 ปี สกศ. ควบคู่กับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx

คณะอนุกรรมการฯ รับฟังรายงานผลการดำเนินงานของสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษาและสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ การประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 17 “การพลิกโฉมการศึกษาไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2566 ซึ่ง สกศ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเวทีเสวนาวิชาการและการนำเสนองานวิจัยทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการวิจัยให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพลิกโฉมการศึกษาไทย ซึ่งในปีนี้มีผู้ส่งผลงานวิจัยจำนวน 231 เรื่อง และผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 41 เรื่อง โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยกับการกำหนดนโยบายทางการศึกษา การพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อผลิตภาพและการงานที่มั่นคง การพลิกโฉมการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ในด้านการพัฒนาคุณภาพสถิติการศึกษาไทย “Thailand Country Programme (Phase 2)” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของ สกศ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ใน 4 สาขาหลัก ได้แก่ ธรรมาภิบาลภาครัฐ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน ความครอบคลุมทางสังคมและพัฒนาทุนมนุษย์ และการฟื้นฟูสีเขียว มุ่งเสริมสร้างระบบสถิติการศึกษาในประเทศไทย ด้วยมุมมองในการปรับปรุงข้อมูลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงยกระดับการติดตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

จากนั้นที่ประชุมร่วมรับฟัง ผลการสำรวจทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตของคนไทยช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น (Future Skills) ซึ่งได้ศึกษา 3 ทักษะ ความฉลาดรู้ทางดิจิทัล (Digital Litercy) ความฉลาดรู้ (Litercy) และ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ภายใต้ตัวแปร 4 ด้าน คือ เพศ สถานศึกษา สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม พื้นฐานและปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ โดยพบว่าเงื่อนไขความสำเร็จขึ้นอยู่กับความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง การวิจัยและพัฒนารูปแบบให้ทันสมัย อุปกรณ์การเรียนรู้ที่เพียงพอเหมาะสม การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งในและนอกห้องเรียน บุคลากรที่พร้อมทั้งทักษะและอุปกรณ์ จากนั้นร่วมหารือ List of Future Skills เตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงหลังสถานการณ์ COVID-19 ให้พร้อมรับพายุแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา (Meta Skills) ผ่านการดำเนินการลักษณะบูรราการที่มีผลกระทบสูง 3 ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาครูและผู้ทำหน้าที่ทุกช่วงวัย ครอบคลุมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมในการใช้ชีวิต การทำงาน เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/13QQrP55WybfaOQU3CV4QbVcRmPF6pbyk?usp=drive_link

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด