สกศ. ถกเข้มแผนการศึกษาชาติ ปรับแนวทางพัฒนาคนไทยเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

image

วันนี้ (๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖) ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา ครั้งที่ ๔/๒๕๖๖ โดยมี ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เป็นประธาน พร้อมด้วยนางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ควบคู่กับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx

.

ที่ประชุมร่วมกันรับฟังและให้ข้อเสนอแนะกรอบแนวทางการทบทวนและปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ แผนการศึกษาแห่งชาติถือเป็นกรอบแนวทางที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ ๒๑ โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ ความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรมและจริยธรรม โดยมีการวางเป้าหมายให้ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access) ผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม (Equity) มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ (Quality) มีระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย (Efficiency) และมีระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) โดยคณะอนุกรรมการฯ มีแนวทางการดำเนินงานและพัฒนาแผนดังกล่าวภายใต้ ๒ ทางเลือกหลัก คือ ๑) ยุทธศาสตร์ตามแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และ ๒) แนวทางนโนบายการศึกษาตาม (ร่าง) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕

.

.

จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงรูปแบบเอกสารแผนการศึกษาแห่งชาติและใช้วิธีการนำเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติในลักษณะต่าง ๆ ให้น่าสนใจ สั้น กระชับ และเข้าใจง่าย ตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพควรระบุข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาให้ชัดเจน ปรับลดจำนวนตัวบ่งชี้ให้เหลือเฉพาะตัวสำคัญ ต้องลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติ ทบทวน/ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาสาระของแผนฯ ทั้งด้านเป้าหมาย ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา นอกจากนี้ควรพัฒนา Big Data เพื่อการรายงานผลที่เป็นระบบ และเผยแพร่ผลการประเมินให้สาธารณชนรับทราบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศไทยต่อไป

.

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด