ไทย VS ออสเตรเลีย หารือร่วมผลักดัน Micro-Credentials ขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนของประเทศ

image

วันนี้ (๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ) เป็นประธานการประชุมหารือการขับเคลื่อนนโยบายทางการศึกษาของสถานทูตออสเตรเลียกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยมี รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง) ผู้ทรงคุณวุฒิ (ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม) ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและการวิจัย สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม (Ms.Jen Bahen) ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย (นางสาววาทินี ขานวงศ์) พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (นางรัชนี พึ่งพาณิชย์กุล) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ (ดร.ปานเทพ ลาภเกษร) และข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมภุชงค์ เพ่งศรี ชั้น ๒ อาคาร ๑ สกศ. ควบคู่กับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx

.

 

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. เป็นหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการที่มีภารกิจสำคัญในการจัดทำและขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาด้านการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาในการพัฒนากำลังคนภายใต้การดำเนินงาน ๒ ประเด็นสำคัญ คือ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และระบบธนาคารหน่วยกิต สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายการผลิตและพัฒนากำลังคนของ สกศ. ภายใต้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework หรือ NQF) เป็นการสร้างความเชื่อมโยงของระบบคุณวุฒิการศึกษาของประเทศกับระดับมาตรฐานการปฏิบัติงาน ภายใต้กรอบผลลัพธ์การเรียนรู้ ๘ ระดับ โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของบุคคล เปิดโอกาสให้มีการประเมินเพื่อเทียบโอนประสบการณ์ และการเรียนรู้นอกระบบ เพื่อเพิ่มพูนคุณวุฒิการศึกษาที่ต้องการ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วย ในส่วนกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (ASEAN Qualifications Reference Framework หรือ AQRF) เป็นกรอบที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา และจัดประเภทคุณวุฒิ โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและกรอบคุณวุฒิระดับภูมิภาค เพื่อใช้เป็นกรอบแกนกลางในการอ้างอิงกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติของประเทศสมาชิกหนึ่งกับอีกประเทศสมาชิกหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยได้รับการรับรองการเทียบเคียงอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา อีกทั้ง เลขาธิการ สกศ. เป็น Thailand AQRF Committee และ สกศ. ได้พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและรับรองหลักสูตรตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รวมถึงระบบการสะสมและเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้และประสบการณ์ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank System) เป็นการดำเนินการเพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนและประชาชนได้นำผลการเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานหรืออาชีพทั้งในระบบ นอกระบบ และ ตามอัธยาศัย มาทำการรับรองและเทียบโอนกันได้ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสเชื่อมโยงการเรียนรู้หรือประสบการณ์การทำงานสามารถพัฒนาตนเองมากยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนและความซ้าซ้อน และสามารถนำไปใช้ในการเรียนและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนาประเทศในที่สุด โดย สกศ. ได้ดำเนินงาน ดังนี้ ๑) ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบการเทียบโอนระหว่างระบบและประเภทการศึกษาและกลไกการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิต และพัฒนาข้อเสนอนโยบายระบบธนาคารหน่วยกิต ๒) วิจัยเชิงปฏิบัติการในลักษณะนำร่อง Credit Bank System กับกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๙ แห่ง ซึ่งได้มี Credit Digital Platform ที่ใช้ร่วมกันของราชมงคลทั้ง ๙ แห่ง ๓) จัดทำคลิป และเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง ๔) พัฒนาความเข้มแข็งของกลไกเชิงพื้นที่และค้นหาต้นแบบเพื่อขยายผลการดำเนินงานโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน

.

 

"สกศ. พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย ในฐานะตัวแทนประเทศไทย มีความพร้อมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียในการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยในการพัฒนาการศึกษา โดยต้องการให้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและเข้มแข็งต่อไปในอนาคต" เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว

.

 

Ms. Jen Bahen ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและการวิจัย สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม นำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมการพัฒนากำลังคนของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งประเทศออสเตรเลียมี Micro-Credentials ซึ่งเป็นระบบการเทียบโอนทักษะและประสบการณ์การทำงานให้เข้าสู่ระบบการศึกษา โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัย รองรับผู้อยู่นอกระบบการศึกษา และผู้อยู่ในระบบการทำงานให้สามารถสะสมหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนเข้าสู่ระบบำการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ถือว่า Micro-Credentials เป็นส่วนหนึ่งของระบบธนาคารหน่วยกิต ภายใต้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ โดยขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการในประเทศออสเตรเลียมีแผนส่งเสริมการนำ Micro-Credentails มาใช้ในระบบการศึกษาของประเทศที่มีศักยภาพ ๑๐ ประเทศ ประกอบด้วย ๘ ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย และอีก ๒ ประเทศอยู่ที่ลาตินอเมริกา โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพที่ได้รับการถูกคัดเลือก ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลียต้องการที่จะทำงานและให้การสนับสนุนประเทศไทยที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learning) โปรแกรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อให้เข้ากับกรอบคุณวุฒิในบริบทประเทศไทยต่อไป

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด