สกศ.จับมือพันธมิตรจัดเก็บข้อมูลการศึกษาเทียบมาตรฐานสากล

image

 

ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การจัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดทางการศึกษาของประเทศไทย ตามกรอบตัวชี้วัดนานาชาติภายใต้โครงการ World Education Indicators (WEI) โดยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ) เป็นประธานการประชุม กล่าวว่า การจัดทำข้อมูลและตัวชี้วัดทางการศึกษาของประเทศไทย ตามกรอบตัวชี้วัดนานาชาติภายใต้โครงการ WEI เนื่องจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้รับมอบหมายให้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาและที่เกี่ยวข้องดำเนินการสนับสนุนข้อมูลสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดทางการศึกษาตามแบบการจัดเก็บของโครงการ WEI ของสถาบันสถิติแห่งองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Institute for Statics : UIS) ที่ผ่านมาสำนักงานฯ ได้จัดเก็บข้อมูลและจัดจำแนกระบบการศึกษาตามมาตรฐานสากล (International Standard Classification of Education หรือ ISCDE 2011 ตามที่ยูเนสโกกำหนด โดยในปีนี้ได้มีการปรับกรอบแบบจัดเก็บข้อมูลที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อให้เปรียบเทียบกับนานาประเทศได้หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นกลไกการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างกระทรวงในการร่วมเป็นเจ้าของข้อมูลและตัวชี้วัดการศึกษาของไทยร่วมกันจึงมีความสำคัญที่ทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเผยแพร่ข้อมูลการศึกษาของไทยในฐานข้อมูลระดับสากล


 

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ (นายปานเทพ ลาภเกษร) กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมการเป็นสมาชิก OECD ในการยกระดับการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานสากล เกิดจากเมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกแบบมีส่วนร่วมขอ

OECD ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานร่วมกันในการเชื่อมโยงข้อมูลในอนาคต ประกอบด้วย แพลตฟอร์ม ข้อมูล การวิเคาะห์ และการมีส่วนร่วม โดยสถิติที่ใช้สำหรับเรื่องการศึกษาและการฝึกอบรมของสหภาพยุโรปใช้การแบ่งตาม International Standard Classification of Education (ISCED) ของยูเนสโก เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้นั้น สถิติที่สำคัญได้แก่ ) การมีส่วนร่วมทางการศึกษาและการฝึกอบรม คือ อัตราการเข้าเรียน การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมต่อเนื่องในสถานประกอบการ และ๒) บุคลากรทางการศึกษา คือ จำนวนนักเรียนและครู การกระจายตัวของนักการศึกษาและครู  ทั้งนี้แนวทางในการดำเนินงานความร่วมมือกับ OECD ในอนาคต ดังนี้ ) ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านการศึกษา ) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สารสนเทศที่จำเป็นต่อการจัดทำนโยบายและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ) เตรียมความพร้อมของบุคลากร ข้อมูล เพื่อการดำเนินการร่วมกันในอนาคต ) ขยายเครือข่ายความร่วมมือและจัดทำแพลตฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนในระดับประเทศและภูมิภาค

 

ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (นายภาณุพงศ์ พนมวัน) กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้าร่วมเป็นสมาชิก OECD ทำให้ประเทศไทยต้องเตรียมข้อมูลการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมและสมรรถนะของผู้เรียน และการเชื่อมโยงการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 

ผู้อำนวยการกลุ่มประสานสถิติระดับพื้นที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (นางนนทลี สิริปัญญาวิทย์) กล่าวว่า การนำมาตรฐานการจัดจำแนกระดับและประเภทในประเทศไทยจะเป็นระบบสถิติแบบกระจายงาน ซึ่งทำให้หน่วยงานสามารถจัดทำสถิติได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเชื่อมต่อกับข้อมูลจากทะเบียนหรือข้อมูลจากการบริหารงานได้โดยตรง หน่วยงานสามารถผลิตสถิติได้ตรงความต้องการของหน่วยงานและประเทศสามารถบูรณาการความรู้  ทรัพยากร และเทคโนโลยีในการจัดทำสถิติระหว่างหน่วยงาน แต่ประเด็นการท้าทายของระบบสถิติแบบดังกล่าวคือ ต้องการหน่วยงานกลางมาทำหน้าที่บริหารจัดการระบบสถิติ โดยมีกลไกขับเคลื่อนแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยคือ คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ชุด ได้แก่ คณะกรรมการสถิติประเทศไทย คระกรรมการสถิติระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ ดำเนินการโดยอ้างอิงตามมาตรฐานสถิติ คือ ข้อกำหนดแนวทางที่ตกลงร่วมกันในการผลิตสถิติ เพื่อประโยชน์ในการมีแนวทางที่ดีในการผลิตสถิติ ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบและมีความสอดคล้องกันแม้จะผลิตต่างช่วงเวลาหรือต่างหน่วยงานก็ตาม อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกัน และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากสถิติร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หลานหน่วยงานอาจคิดว่า ในความเป็นจริงแต่ละหน่วยงานก็มีวัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูลของตนเอง จะให้ทุกคนใช้คำนิยามหรือการจัดหมวดหมู่เหมือนกันกับมาตรฐานทั้งหมดได้อย่างไร แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือ ไม่ใช่การบังคับให้ทุกหน่วยงานต้องมีคำนิยามหรือการจัดหมวดหมู่ที่เหมือนกับที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสถิติทุกอย่าง แต่ต้องการบอกว่า แต่ละหน่วยงานยังคงผลิตตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานตนเอง แต่ในการผลิตในแต่ละเรื่องขอให้คำนึงถึงเรื่องของมาตรฐานสถิติ ว่าทำอย่างไรที่จะให้ข้อมูลที่หน่วยงานของเราผลิตสามารถเปรียบเทียบหรือปรับข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ เพราะข้อมูลที่หน่วยงานท่านผลิตขึ้นมาล้วนมีคุณค่า”  ทำแล้วอย่าใช้คนเดียว สามารถเอามาแลกเปลี่ยนละบูรณาการให้ผู้อื่นใช้ร่วมกันได้ และยังสามารถนำมาเป็น Baseline เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบให้เกิดองค์ความรู้ที่น่าสนใจได้อีกด้วย 

นางนนทลี กล่าวต่อไปว่า นโยบายด้านมาตรฐานสถิติในการผลิตสถิติทางการ เพื่อให้สามารถบูรณาการและใช้ประโยชน์ร่วมกัน ต้องกำหนดแนวทางการผลิตสถิติทางการให้สามารถบูรณาการได้ เพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการจัดทำและใช้กรอบสถิติในการผลิตสถิติทางการ ให้ความสำคัญกับข้อมูลจากการบริหารงานว่าต้องออกแบบการผลิตข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทา

สถิติด้วย ใช้การแบ่งพื้นที่ภูมิศาสตร์เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงสถิติตามมาตรฐานกำหนด สนับสนุนให้หน่วยงานสถิติใช้มาตรฐานและแนวทางการผลิตสถิติที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ที่สำคัญหน่วยสถิติต้องอธิบายเหตุผลในกรณีที่ไม่ได้ใช้กรอบการดำเนงาน แนวทาง หรือมาตรฐานสถิติในการผลิตสถิติทางการ ซึ่งมาตรฐานในที่นี้เป็นไปได้ทั้งระดับสากล ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ

นายเกรียงสิทธิ์ ดลประสิทธิ์ นักวิชาการศึกษาสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กล่าวว่า กลุ่มงานบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้จัดทำมาตรฐานการผลิตสถิติ: การจัดจำแนกการศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรฐานกลางของประเทศไทยในการจำแนกการศึกษาสำหรับกำหนดกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการศึกษาที่สามารถเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศในระดับสากลและในระดับภูมิภาค โดยมีหน่วยงานในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ หน่วยงานที่จัดการศึกษาและสถานศึกษา โครงสร้างรหัสการจัดจำแนกประกอบด้วยเลข หลัก หลักที่ คือ ระดับการศึกษา หลักที่ คือ ประเภทการศึกษา และหลักที่ คือ ลักษณะการสำเร็จและระยะเวลาในการเข้ารับการศึกษา

    การจัดจำแนกการศึกษา จะเป็นตัวแปรพื้นฐานที่สำคัญในการจำแนกระดับและประเภทการศึกษาแต่ละช่วงวัยตามโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ที่อ้างอิงจากมาตรฐานการจัดจำแนกระดับและประเภทการศึกษานานาชาติ (the International Standard Classification of Education 2011: ISCED 2011) โดยสำนักงานสถิติขององค์การสถิติขององค์การสหประชาชาติ (UNESCO Institute for Statistics : UIS) สำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้จัดทำฐานข้อมูลและตัวชี้วัดด้านการศึกษาของประเทศไทยตามแบบจัดเก็บ    WAI data collection ภายใต้โครงการ WAI ตั้งแต่ปี๒๕๔๐ ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าว มีการจัดจำแนกการศึกษาตามมาตรฐานสากล ที่เป็นมาตรฐานสากลล่าสุด โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน   หรือ (Sustainable Development Goals : SDGs)

นายศิระวัฒน์ จรรยาจิรวงศ์ นักวิชาการศึกษาสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา รายงานว่า การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทย (Thailand Education Data Quality Assessment : Thailand Ed-DQA) สำหรับการประเมินเชิงลึกของกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การรวบรวม จัดทำข้อมูลตามระเบียบทางสถิติจนถึงเผยแพร่ข้อมูล เพื่อพัฒนากลยุทธ์การปรับปรุงสถิติด้านการศึกษาของประเทศ โดยดำเนินการปฏิบัติงานของแต่ละประเทศเปรียบเทียบมาตรฐานสากล ซึ่งเป้าหมายในปี ๒๕๖๖ เป็นการติดตาม Thailand Ed-DQA ปี ๒๕๖๕ จาก หลักแนวคิดคือ หลักที่ สภาพแวดล้อมขององค์กร สถาบันหรือองค์กรที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการพัฒนา ประมวลผล และเผยแพร่สถิติการศึกษาในประเด็น ได้แก่ กรอบนโยบายและกฎหมาย ความเพียงพอของทรัพยากร ความตระหนักถึงคุณภาพสถิติการศึกษาความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใสและมาตรฐานด้านจริยธรรม หลักที่ กระบวนการทางสถิติ มาตรฐานและกระบวนการทางสถิติที่เป็นหลักสากลที่มีการประเมินกระบวนการรวบรวม ประมวลผลและเผยแพร่สถิติการศึกษาอย่างเป็นทางการ มีความน่าเชื่อถือในการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพตามระเบียบวิธีการทางสถิติ และหลักที่ ผลสถิติทางการศึกษา สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานขององค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานราชการ สถาบันวิจัย ภาคธุรกิจ และสาธารณชนทั่วไป ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในประเด็นต่าง   ได้แก่ ช่วงเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลที่ทันต่อการใช้งาน ความสอดคล้องของข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลและมีรูปแบบในการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าถึง

การประเมินคุณภาพข้อมูลการศึกษาของประเทศไทยปีงบประมาณ .. ๒๕๖๕ จาก แนวคิด พบว่า ภาพรวมคุณภาพข้อมูลทางการศึกษา อยู่ในระดับ และแนวคิดหลักที่ สภาพแวดล้อมขององค์กร อยู่ระดับ แนวคิดหลักที่ กระบวนการทางสถิติ อยู่ในระดับ แนวคิดหลักที่ ผลสถิติทางการศึกษา อยู่ในระดับ

สิ่งสำคัญของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้คือ การลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาของโรงเรียนวัดขนอน อำเภอบางแพ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดถ้ำสิงโตทอง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พบว่า ผู้เรียนมีจำนวนลดลงและส่วนใหญ่ไม่ถือสัญชาติไทย ปัญหาในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของทั้ง โรงเรียนคือ โรงเรียนขาดความพร้อมด้านบุคลากรในการจัดเก็บข้อมูลและทรัพยากร เช่น ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ไม่รองรับกับโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูล

การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โรงแรมธีรมา คอทเทจ รีสอร์ท จังหวัดราชบุรี สกศ. และหน่วยงานพันธมิตรร่วมระดมสมองในการเตรียมความพร้อมการเป็นสมาชิก OECD ในการยกระดับการจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานสากล การนำมาตรฐานการจัดจำแนกระดับและประเภทการศึกษานานาชาติ ISCED 2011 เพื่อเข้าสู่มาตรฐานกลางของประเทศ การพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศไทยต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด