สกศ. จัดการบรรยายพิเศษ เปิดแนวคิด Lifelong Learning ลดความเหลื่อมล้ำการศึกษาของประเทศ

image

วันนี้ (๒๐ มกราคม ๒๕๖๖) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ) เข้าร่วมการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสู่ความท้าทายในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต" พร้อมด้วยผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา (ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์) ข้าราชการ และบุคลากร สกศ. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร อาคาร ๕๖ ปี ชั้น ๓ สกศ.

 

.

ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การบรรยายพิเศษในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในโครงการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฐานข้อมูล ThaiEdResearch ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมความรู้ ผลงานวิจัยทางการศึกษาที่ทันเหตุการณ์ เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านทาง www.thaiedresearch.org เพื่อสนับสนุนให้บุคลากร สกศ. เข้าถึงองค์ความรู้ที่ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและในการวางแผนและพัฒนานโยบายการทำงานด้านการศึกษาของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

 

 

 

ที่ประชุมได้ร่วมกันรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสู่ความท้าทายในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต" โดย นายแพทย์สุภกร บัวสาย อดีตผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ถึงสถานการณ์และปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาถือเป็นปัญหาสำคัญในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำในความมั่งคั่งระดับสูง โดยเมื่อเปรียบเทียบเด็กไทย ๑๐ คนที่เกิดปีเดียวกัน เมื่ออายุ ๒๓ ปีจะมีเพียง ๒ คนเท่านั้นที่เรียนจบระดับอุดมศึกษาและมีงานทำ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยเป็นปัญหาที่ซับซ้อน มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ความยากจน และรายได้ที่แตกต่างกันอย่างมาก นโยบายและการเลือกปฏิบัติที่กระทบต่อโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เช่น  เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยและชุมชนชายขอบมักไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีแนวโน้มที่จะเลิกเรียนกลางคัน และโรงเรียนในจังหวัดและอำเภอมีการจัดการเรียนการสอบที่คุณภาพแตกต่างกัน การศึกษาถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาส่งผลทั้งในระดับบุคคลและประเทศ ทั้งต่อผลผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายและโครงการหลายอย่างเพื่อจัดการกับความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาและเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นได้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีปัญหากับดักรายได้ปานกลาง ผลิตภาพแรงงานของไทย และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ดังนั้นจึงต้องใช้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบูรณาการส่งเสริม การศึกษาตลอดชีวิต Lifelong Learning เข้ามาในระบบการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมโอกาสและขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงการศึกษาของทุกช่วงวัย สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษา เช่น แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์และการเรียนรู้ผ่านมือถือ รวมถึงการเพิ่มเงินทุนให้กับโรงเรียนในชุมชนชายขอบให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมทางการศึกษา และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด