บอร์ดอนุฯ สภาการศึกษาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาพิเศษ ไฟแรง ถกนัดแรกตั้งคณะทำงาน ๓ คณะ

image

วันนี้ (๘ ธันวาคม ๒๕๖๕) ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาพิเศษ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ โดยมีนายธนู ขวัญเดช รองเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมด้วยนางประวีณา อัสโย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)

.

 

คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอความเห็นและให้คำแนะนำการจัดทำนโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ บุคคลที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ การดำเนินการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และรายงานผลการดำเนินงานต่อต่อคณะกรรมการสภาการศึกษาต่อไป

.

ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาพิเศษ ตลอดจนร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับขอบเขตการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการอย่างกว้าง โดยมุ่งเน้นขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาพิเศษ และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาบนความต้องการ (Needs) ของแต่ละบุคคล ด้วยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของครอบครัว ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม “Takes a village to raise a child” (ใช้คนทั้งหมู่บ้านในการเลี้ยงดูเด็ก) เพื่อบุคคลสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ตลอดช่วงชีวิต

.

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงาน จำนวน ๓ คณะ ได้แก่ (๑) คณะทำงานศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (๒) คณะทำงานศึกษาเรื่องการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ และ (๓) คณะทำงานศึกษาเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการให้ครอบคลุม รอบด้าน และมีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาพิเศษอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด