สกศ. เดินหน้าติดตามความก้าวหน้าโครงการทดลองนำร่องนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ ระยะที่ ๒ ของโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ๑๐ แห่ง ใน ๗ อำเภอ ของจังหวัดศรีสะเกษ

image

วันอังคารที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕  รองเลขาธิการสภาการศึกษา (นายธนู ขวัญเดช) ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (นางประวีณา อัสโย) ผู้อำนวยการกลุ่มมาตรฐานการศึกษา (นางสาวศศิรัศม์ วีระไวทยะ) และข้าราชการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการทดลองนำร่องนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาของสถานศึกษาต้นแบบ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ ไปยังโรงเรียนเครือข่าย ๙ แห่ง โดยชูนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา “PBK SMART” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ขึ้นอยู่กับฐานทุน บริบทและเป้าหมายความต้องการของโรงเรียน ที่สอดคล้องตาม DOE ในมาตรฐานการศึกษาของชาติและ DOE ของจังหวัดศรีสะเกษ (SISAKET ASTECS)

.

 

โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ได้พัฒนานวัตกรรม “PBK SMART” เพื่อการขับเคลื่อนสถานศึกษาใน ๒ รูปแบบ คือ (๑)การบริหารจัดการสถานศึกษา และ (๒) การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียน โดยจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ( P : Participation) การพัฒนานวัตกร ( B:Innovative Builder) การพัฒนาศูนย์รวมความรู้ (Knowledge Center) การบริหารแบบโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ ( S :School in School) การบริหารจัดการภายในองค์กร (M :Management Organization) การส่งเสริมเกษตรปลอดภัย (A:Safe Agriculture) การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานฐานวิจัย (R :Research Base Learning) และการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและมีประโยชน์ ( T: Clean Technology ทั้งนี้ โรงเรียนเครือข่าย ๙ แห่ง ครอบคลุมในพื้นที่ ๖ อำเภอ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง อยู่ในเขตเมืองและนอกเมือง ได้แก่ โรงเรียนบ้านเปือยนาสูง อ.เมืองศรีสะเกษ  /โรงเรียนนาแก้ววิทยา โรงเรียนโพธิ์วงศ์วิทยา โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ  อ.ขุนหาญ /โรงเรียนหนองถ่มวิทยาอ.กันทรารมย์ / โรงเรียนด่านอุดมศึกษาอ.ราษีไศล / โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม อ.กันทรลักษ์ /โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม อ.เมืองจันทร์ ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมการทดลองนำร่องนำนวัตกรรมดังกล่าวไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง โดยพบว่า โรงเรียนเครือข่ายส่วนใหญ่ เลือกใช้ลักษณะเฉพาะของโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ได้แก่ “ KST” ( K = Knowledge Center , S =  School in School , T = Clean Technology) นำมาผนวกกับนวัตกรรมที่โรงเรียนคิดค้นเองเพื่อเป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษา                                                    

.

โอกาสนี้ รองเลขาธิการสภาการศึกษา (นายธนู ขวัญเดช) ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณเพื่อยกย่องชมเชยคณะวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย ผู้บริหารและครู ของโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม และโรงเรียนเครือข่าย ๙ แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการและดำเนินงานจนเกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ในการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ โดยมี ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษานิเทศก์ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดี ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการดำเนินการของโรงเรียนทั้ง ๑๐ แห่งไปเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันต่อไป  ทั้งนี้ ได้มีโรงเรียน สังกัด อบจ.ศรีสะเกษ ที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์ เพื่อเตรียมเป็นเครือข่ายเพิ่มเติมอีก ๘  แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ โรงเรียนโนนปูนวิทยาคม โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ และโรงเรียนโคกสะอาดวิทยาคม

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด