สกศ. ติดตามการใช้ผลประเมินพหุปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียน

image

วันนี้ (๑๕ กันยายน ๒๕๖๕) ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาและรับฟังความคิดเห็นเรื่อง "การติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา : มุมมองใหม่เกี่ยวกับการใช้ผลประเมินพหุปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียน" โดยมี ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (ดร.ช่อบุญ จิรานุภาพ) กล่าวรายงาน มีวิทยากรการเสวนาจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ องค์การทุนเพื่อเด็กสหประชาชาติ (UNICEF) สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารการศึกษา ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ Facebook Fanpage ภายใต้ชื่อ "OEC News สภาการศึกษา"

ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นองค์กรนำด้านการขับเคลื่อนการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันสู่เวทีโลก โดยมีพันธกิจในการจัดทำและขับเคลื่อนนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ ความสนใจ ความถนัด และการตระหนักรู้ถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย
.
"การประชุมวันนี้จะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ให้มีทิศทางที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรรม อีกทั้งยังเป็นการผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนให้ประเทศไทยดำเนินการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพ และมีสมรรถนะระดับสูง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนตามพหุปัญญาให้เต็มศักยภาพ รวมถึงการสร้างเสริมศักยภาพผู้เรียนให้ความความสามารถอย่างต่อเนื่อง" ดร.ภูมิพัทธ กล่าว
ดร.ช่อบุญ จิรานุภาพ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กล่าวว่า สกศ. ในฐานะองค์กรหลักด้านการศึกษาของประเทศ เล็งเห็นความสำคัญในการผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพ และมีสมรรถนะสูง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนตามพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย เช่น ตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านทัศนะและมิติ ดนตรี กีฬา/การเคลื่อนไหวของร่างกาย การจัดการตนเอง มนุษยสัมพันธ์ รวมถึงผู้มีความสามารถอันโดดเด่นสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษในหลากหลายสาขาวิชา เพื่อเสริมศักยภาพและตอบโจทย์การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของประชากรทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับนานาชาติต่อไป
นอกจากนี้ ในช่วงเช้ามีการนำเสนอ "มุมมองใหม่เกี่ยวกับการใช้ผลประเมินพหุปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียน" โดย ดร.วีรภัทร์ สุขศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะวิจัย ปรากฎข้อค้นพบที่น่าสนใจเกี่ยวกับพหุปัญญา (Multiple Intelligences หรือ MI) ดังนี้ นักเรียนไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกัน แต่ละคนสามารถเก่งได้ในด้านที่ตนเองถนัด/ชอบ/สนใจ ซึ่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น ๙ ด้าน ดังนี้ ด้านภาษา ด้านตรรกะคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกาย ด้านดนตรี ด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง ด้านรอบรู้ธรรมชาติ และด้านการดำรงอยู่ของชีวิต 
นอกจากบุคคลหนึ่งคน จะมีปัญญาทั้ง ๙ ด้านที่กล่าวมาข้างต้น แต่ละบุคคลมีปัญญาด้านเดียวกันในปริมาณ/ระดับไม่เท่ากันด้วย ทำให้บุคคลเหล่านั้นรู้สึก คิด และแสดงพฤติกรรมไม่เหมือนกัน เมื่อเชาว์ปัญญาจากบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นเชาว์ปัญญาทั้ง ๙ ด้านจึงสัมพันธ์กัน แต่ระดับมากน้อยไม่เท่ากัน บุคคลนั้นจึงมีลักษณะที่สัมพันธ์กัน การข้ามเชาว์ปัญญาทั้ง ๙ ด้าน และงาน/กิจกรรม แบบเดียวกัน สามารถทำให้เกิดเชาว์ปัญญาได้มากกว่า ๑ ด้าน และได้ในระดับไม่เท่ากัน ซึ่งรูปแบของบุคคลที่มีเชาว์ปัญญาทั้ง ๙ ด้านไม่เหมือนกันทำให้กิจรรมที่สามารถใช้กระตุ้นเชาว์ปัญญาได้มากกว่า ๑ ด้าน ทั้งนี้ เชาว์ปัญญาเป็นเรื่องของการเรียนรู้และขึ้นอยู่กับสถานการณ์
โดยยกตัวอย่างนิยามของพหุปัญญาด้านตรรกะคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ๔ ระดับ ดังนี้ ๑) ระดับต่ำ สนใจเรียนคณิตศาสตร์หรือคิดคำนวณ สามารถตั้งคำถามที่ยอากรู้ได้ แก้ปัญญาได้จากความคุ้นเคยได้ สนใจการทดลอง อธิบายความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้เป็นครั้งคราว ๒) ระดับปานกลาง ชอบเรียนคณิตศาสตร์ ตั้งคำถาม อยากหาเหตุผล ชอบทดลอง อธิบายความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้เป็นรูปธรรม ๓) ระดับสูง คิดคำนวณได้รวดเร็ว มีกระบวนการหาเหตุผลอย่างเป็นขั้นตอน ชอบเล่นเกม อาสาเข้าร่วมกิจกรรม สามารถแยกแยะประเภทหมวดหมู่ และ ๔) ระดับพิเศษ สามารถคิดเขได้อย่างคล่องแคล่ว แก้ปัญญาที่ซับซ้อนได้ ได้รับรางวัลในการตอบปัญญาคณิตศาสตร์ อธิบายหลักการแก้ปัญหา วิธีคิด เพื่อจัดจำแนก หรือแสวงหาคำตอบให้เข้าใจได้
.
ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้ทราบว่านักเรียนแต่ละคนมีพหุปัญญาแต่ละด้านในระดับที่แตกต่างกัน เป็นอย่างไร เพื่อสามารถนำมาพัฒนาให้นักเรียนมีพหุปัญญาด้านนั้นเพิ่มขึ้น ผ่านการจัดทำกิจกรรม
หลังจากนั้น มีการเสวนาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยวิทยากรชั้นนำ อาทิ รศ.ดร.นพ. ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิณ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.ณัฐิกา เพ็งลี อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ ดร.รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การยูนิเซฟประเทศไทย นางสาวไพลิน ลิ้มวัฒนชัย นักจิตวิทยาและการแนะแนว ดำเนินรายการโดย ดร.วีรภัทร์ สุขศิริ และรศ.ดร. อรพรรณ บุตรกตัญญู อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับประเด็นชวนคิด แง่คิด และข้อเสนอแนะน่าสนใจ ได้แก่ ทำอย่างไรให้นักเรียนได้รับพัฒนาได้เต็มที่ ระบบการศึกษาสามารถจัดให้นักเรียนมีโอกาสอยู่ในสถานที่ที่ได้รับการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ได้อย่างไร  ระบบแบบไหนที่ทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ ควรสร้าง Platform การใช้ผลประเมินพหุปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยให้ครูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนอาจเริ่มต้นจากการพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทีละด้านโดยไม่จำเป็นต้องเก่งทุกด้านในเวลาเดียวกัน รูปแบของบุคคลที่มีเชาว์ปัญญาควรยกตัวอย่างต้นแบบ หรือ idol และกำหนดลักษณะเฉพาะให้ชัดเจน ควรนำเครื่องมือที่ใช้วัดผลประเมินมาวิเคราะห์เพื่อนำไปพัฒนานักเรียนหรือไปใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับนักเรียนให้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ฯลฯ 
สำหรับการประชุมเสวนาและรับฟังความคิดเห็นเรื่อง "การติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา : มุมมองใหม่เกี่ยวกับการใช้ผลประเมินพหุปัญญาเพื่อพัฒนาผู้เรียน" จัดโดย สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สกศ. ทั้งนี้ สกศ. จะรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อค้นพ้บที่ได้รับ นำไปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อยกระดับการศึกษาให้มีประสิทธิภาพต่อไป
.
.
ข่าวและรูปภาพเพิ่มเติม

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด