สกศ. ลงพื้นที่ ปราจีนบุรี เก็บข้อมูลเชิงลึก รับฟังสภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่

image

วันนี้ (๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อรรถพล สังขวาสีเป็นประธานเปิดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบ Video Conference ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นสภาวการณ์ทางการศึกษาเชิงพื้นที่ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่  กลุ่มจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดฉะเชิงเทราโดยมีผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา (นางอำภา พรหมวาทย์กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ  อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.จุไรรัตน์ แสงบุญนำอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชาญ ตันติธรรมถาวรอดีตผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.เรืองรัตน์ วงษ์ปราโมทย์ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (ดร.ชวลิต โพธิ์นครอดีตผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวขนิษฐา ห้านิรัติศัยและผู้บริหารการศึกษา ครูบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กว่า ๑๒๐ คน  โรงแรมแคนทารี โฮเทลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดงานใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า การศึกษาสามารถดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายทางการศึกษาที่มีคุณภาพ รอบรับ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาวการณ์ทางการศึกษาที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายทางการศึกษา

 

"สำนักงานเลขาธิการสภาการศีกษา (สกศ.) จัดทำรายงานสภาวะการศึกษาเป็นประจำทุกปี เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาในภาพรวมของประเทศ สำหรับปีนี้ต้องการต่อยอดรายงานสภาวะการศึกษาไทยให้สามารถตอบสนองการจัดการศึกษาในทุกพื้นที่ของประเทศ เพราะแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างทางสังคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความต้องการของคน อันจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดทำนโยบายทางการศึกษาจาก One Size Fitted Education เป็น Tailor-Made Education" เลขาธิการสภาการศึกษากล่าว

ด้าน นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา กล่าวว่า สกศจัดทำรายงานสภาวะการศึกษาไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี .๒๕๔๐ การประชุมวันนี้จัดเป็นครั้งที่  ประกอบด้วยกลุ่มจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยครั้งแรก จัดที่จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา และครั้งถัดไป เป็นครั้งสุดท้าย ที่จังหวัดราชบุรี ในระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๑สิงหาคม ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นการต่อยอดการจัดทำรายงานสภาวะการศึกษาให้ครอบคลุมบริบทความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดทำรายงานสภาวการณ์การศึกษาเชิงพื้นที่ และข้อเสนอในการยกระดับการจัดการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาต่อไป

อีกทั้งยังมีการนำเสนอแนวทางการประชุม โดย ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์สภาวการณ์การศึกษา สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา (นายวีระพงษ์ อู๋เจริญหลังจากนั้น เป็นการประชุมกลุ่มย่อย จำแนกตามจังหวัด และจำแนกตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์ความท้าทาย เป้าหมาย และประเด็นร่วมสมัยทางการศึกษาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๖๕ ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสะท้อนมุมมองที่หลากหลายมิติจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคการศึกษาที่น่าสนใจ พบว่า แต่ละพื้นที่ต่างได้รับผลกระทบจากแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของผู้ปกครองและนักเรียน เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทำให้เด็กต้องหลุดออกจากระบบ เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) เป็นต้นนอกจากนี้แต่ละพื้นที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการในด้านความชัดเจนของนโยบายที่ลงสู่การปฏิบัติ  การสนับสนุนงบประมาณที่มีความยืดหยุ่นของกฎระเบียบในการใช้จ่ายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน การลดภาระงานครูที่มากเกินไป การสนับสนุนด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น 

นอกจากนี้ ในระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ยังมีกิจกรรมลงพื้นที่โรงเรียน  แห่ง ที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึกด้านสภาวการณ์ทางการศึกษา ได้แก่ ๑) ศูนย์การเรียน เซนต์ ยอห์นบอสโก )โรงเรียนกบินทร์วิทยา และ ๓)โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๙๓ (บ้านลาดตะเคียน)

 

ประเด็นที่น่าสนใจจากการลงพื้นที่ของแต่ละโรงเรียนมีดังนี้ ศูนย์การเรียน เซนต์ ยอห์นบอสโก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีนายกสมาคมการศึกษาตลอดชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ผู้จัดการศึกษา คือ อาจารย์ศุภรดา จึงสำราญ จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน ๑๑ คน ใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ส่วนใหญ่จัดการศึกษาให้กับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มุ่งเน้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนทั่วไปที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ ให้ได้รับการศึกษาเท่าเทียมกับการศึกษารูปแบบอื่นๆ วิธีการจัดการเรียนรู้ใช้การจัดการเรียนรู้ทางไกล โดยที่นักเรียนสามารถเรียนเมื่อไรก็ได้ การจัดการเรียนการสอนได้นำหลักสูตรแกนกลางมาปรับใช้ โดยมุ่งเน้นความรู้พื้นฐานอาชีพ และเทคโนโลยี นักเรียนจะสามารถลงมือทำจริง ปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประกอบวิชาชีพได้จริง ข้อค้นพบที่ได้ อาทิ ครูที่สอนไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูจึงสามารถใช้วิทยากร หรือผู้เชี่ยวชาญข้างนอกจากชุมชนท้องถิ่น นักเรียนที่อยู่ในกรมพินิจฯ เรียนโดยอาศัยชุดวิชา และใบความรู้ เมื่อมีการประเมินหรือการสอบ ครูจะเข้าไปดำเนินการที่นั่น ทั้งนี้ ได้มีการติดตามพบว่านักเรียนที่สำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่จะออกไปประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลแต่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในด้านระบบ การเรียนการสอน วิทยากร เป็นต้น

 

โรงเรียนกบินทร์วิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปราจีนบุรี -นครนายก โดยมี นายอภิเชษฐ์ ชมภู เป็นผู้อำนวยการ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตน ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๔๒ ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน ๙๕ คน นักเรียนจำนวน ,๘๙๒ คน เป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ต้องการให้นักเรียน "ดี เก่ง กล้า ร่าเริง แข็งแรงข้อค้นพบที่ได้ อาทิ โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีครูเพียงพอต่อความต้องการ โรงเรียนต้องการการจัดสรรเงินมาจ้างบุคลากรลูกจ้างประจำเพิ่มขึ้นปัญหาการเลื่อนวิทยฐานะโดยต้องการให้ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินมีความชัดเจนและควรความเพิ่มตัวชี้วัดที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานจริงประกอบการพิจารณา ด้านงบประมาณมีพอเพียงแต่ขาดความยืดหยุ่นเพื่อสะดวกในการดำเนินงานและเป็นประโยชน์มากที่สุด โรงเรียนมีการจัดการเรียนการรู้แบบพหุปัญหา เช่น การจัดค่ายโครงงานโดยเน้นการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น สำหรับการใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะทำให้ เด็กได้รับการปฏิบัติ สามารถเข้าสู่การแข่งขันได้มากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังสะท้อนมุมมองที่น่าสนใจ เช่น สายการเรียนในปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์อนาคต ครูต้องมีจิตวิทยาในการดูแลและให้คำปรึกษาที่ดีกับนักเรียน นอกจากนี้ควรมีหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาครู ด้านนักเรียนต้องการครูแนะแนวที่สามารถให้คำปรึกษาในการค้นหาตัวเองเพื่อใช้ประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตที่มีความสุข

 

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๙๓ (บ้านลาดตะเคียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปราจีนบุรี เขต โดยมีนายสมหมาย สังขะวินิจ เป็นผู้อำนวยการ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล  ถึงมัธยมศึกษาปีที่  มีครูจำนวน ๒๕ คน นักเรียนจำนวน ๔๒๔ คน  เป้าหมายของโรงเรียน คือ เด็กทุกคนต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา นโยบายจุดเน้นของโรงเรียนมีดังนี้ ด้านความปลอดภัย มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ เข้าร่วมโครงการ MOE Safety Center สถานศึกษาปลอดภัย แก้ไขจุดเสี่ยงให้มีความปลอดภัยโดยติดกล้องวงจรปิด ด้านโอกาส ดำเนินงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม และมีความเสมอภาค แนวทางการดำเนินงานมีดังนี้กิจกรรมพาน้องกลับมาเรียน กิจกรรมช่วยเหลือนักเรียนที่ป่วย กิจกรรมช่วยนักเรียนซ่อมแซมบ้านที่ชำรุดกิจกรรมหนึ่งห้องเรียนหนึ่งอาชีพเพื่อให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน ด้านคุณภาพ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะวิชาการ ทักษะดำรงค์ชีวิต และทักษะอาชีพ โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการตามนโยบายโรงเรียนคุณภาพ-ห้องเรียนคุณภาพ ประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียน/ชุมชน/ผู้ปกครอง/ศึกษานิเทศก์ เพื่อวางแผนยกระดับผลสัมฤธิ์ทางการเรียน จัดกิจกรรมการรเรียนการสอนแบบ Active Learning ให้สอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ และคุณภาพผู้เรียน 3R8C ด้านประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรร่วมกันในการทำกิจกรรมต่าง  ระหว่างโรงเรียนแม่ข่าย และลูกข่ายโรงเรียนยังได้รับการติดตามโครงการโรงเรียนคุณภาพประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายและความท้าทายของโรงเรียน คือ นักเรียนมีทักษะการสื่อสารสองภาษา ปัญหาอุปสรรค คือ ความไม่ปลอดภัยที่ต้องมาเรียนรวมและค่าพาหนะที่เดินทางมาเรียน โดยโรงเรียนต้องการสนับสนุนให้ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และอุปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สำหรับข้อค้นพบที่ได้ อาทิ โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษาจำเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โรงเรียนมีคุณภาพอย่างแท้จริง ปัญหาที่ทำใหเด็กหลุดจากระบบ เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาความยากจน โรงเรียนขนาดเล็กที่มาเรียนรวมไม่มีงบประมาณในการจ้างรถเพื่อพานักเรียนมาเรียน จึงต้องให้ครูไปสอนตามโรงเรียนต่าง ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระงานของครู ผลกระทบจากแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมต่าง  เช่น การคัดกรอง คัดแววเปิดชมรม กีฬา ดนตรี งานอาชีพ โครงการหนึ่งห้องเรียนหนึ่งงานอาชีพเพื่อให้นักเรียนสามารถหารายได้เสริมระหว่างเรียน การสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการนวด เป็นต้น

 

สำหรับ การลงพื้นที่ครั้งนี้ จัดโดยสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้านสภาวการณ์ทางการศึกษาในระดับพื้นที่ บริบท ความท้าทาย และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งสำรวจข้อมูลความต้องการ ปัญหา อุปสรรค และตัวอย่างความสำเร็จในการจัดการศึกษา ทั้งนี้ สกศจะรวบรวมข้อมูล ข้อค้นพบ และข้อเสนอแนะที่ได้รับเพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อยกระดับการจัดการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานต่อไป

 

ติดตามภาพข่าวเพิ่มเติม https://www.facebook.com/627180797293850/posts/pfbid0HrDS4qacFr7oeVDpGCug1MTuLauEXccup7GaJgzTvQv7vHrbCoY7MyheR73cqYvVl/

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด