เลขาธิการ สกศ. นำทีมล่องใต้ เปิดเวทีวิจัยทางการศึกษา นัดสุดท้าย จ.สงขลา

image

 

วันนี้ (๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕เลขาธิการสภาการศึกษา (ดรอรรถพล สังขวาสีให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการระดับภูมิภาค : การวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่  ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา โดยมี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา (ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ครู คณาจารย์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมประชุมกว่า ๑๕๐ คน  โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ควบคู่กับการถ่ายทอดสดผ่านทางช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ Facbook Fanpage ภายใต้ชื่อ "OEC News สภาการศึกษา"

. 

ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดงานใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปรียบเสมือนเข็มทิศทางการศึกษาของประเทศ เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ "การศึกษาให้ความสำคัญกับการวิจัยเป็นอันดับแรก เนื่องจากการวิจัยเป็นฐานข้อมูลของการพัฒนาคนได้อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์แบบ มีหลักคิดเชิงวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง สกศจึงได้จัดการสัมมนาวิชาการระดับภูมิภาค : การวิจัยทางการศึกษานี้ขึ้น ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษาของประเทศ โดยเป็นเวทีในการนำเสนอ เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำผลงานวิจัยลงสู่การปฏิบัติ สนับสนุนการพัฒนานักวิจัยด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ และสร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

.

 

"ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนำแนวคิด แนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพด้วยวิธีการวิจัย เป้าหมายสำคัญนอกจากจะได้นักวิจัยที่มีคุณภาพแล้ว จะมุ่งเน้นผลการวิจัยที่เกิดกับผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ซึ่งผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะส่งผลต่อคุณภาพด้านการศึกษา และคุณภาพของกำลังคนในอนาคตด้วยวิธีวิจัยที่หลากหลายรูปแบบและวิธีการ ในการดำเนินการครั้งนี้ นอกจากจะมีวิทยากรให้องค์ความรู้ด้านการวิจัยแล้ว ยังการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการวิจัยที่เกิดขึ้นในเชิงพื้นที่ ได้แก่ การวิจัยประกันคุณภาพผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning วิธีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่ ขอชื่นชมผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีวิสัยทัศน์และเห็นความสำคัญต่อการวิจัย เชื่อมั่นว่าการดำเนินงานครั้งนี้สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้ในอนาคตต่อไปเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว

.

ด้าน ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา กล่าวว่า สกศในฐานะหน่วยงานด้านการศึกษาของชาติ เห็นว่าการวิจัยทางการศึกษาเป็นรากฐานที่จำเป็นต่อการสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่  ที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญส่งผลให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูง

.

สกศให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการวิจัยควบคู่กับการส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษาในทุกมิติ จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การบรรยายพิเศษเรื่อง "การพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพและใช้ประโยชน์ได้จริงโดย รศ.ดร.อาฟีฟี ลาเต๊ะ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การเสวนาแลกเปลี่ยนการนำผลงานวิจัยทางการศึกษาสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากนักวิจัยเกี่ยวกับการทำงานวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัยลงสู่การปฏิบัติ โดยสะท้อนมุมมองและแนวคิดที่เป็นประโยชน์จากวิทยากร ประกอบด้วย 

.

นายวิสุทธิ์ คงกัลป์ อาจารย์จากโรงเรียนควนเนียงวิทยา นำเสนอเรื่อง "การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ MESUK Model เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ "

.

นายกฤตกร สภาสันติกุล อาจารย์จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง นำเสนอเรื่อง "การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้  ขั้นตอน ร่วมกับการให้เหตุผลอย่างร่วมมือรวมพลัง"

.

 ดร.อุไรวรรณ ชินพงษ์ อาจารย์จากวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส นำเสนอเรื่อง "การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบทวิภาษา (ภาษามลายูถิ่น-ภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนราธิวาส"

.

และ ดรปิติภาคย์ ปิ่นรอด อาจารย์จากวิทยาลัยเทคนิคลำพูน นำเสนอเรื่อง "การพัฒนาหลักสูตรนวัตวณิชย์เพื่อพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสู่ประเทศไทย ." ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.จตุพล ยงศร อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

.

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอนิทรรศการผลงานของ สกศผลงานที่ผ่านการคัดเลือกในการประชุมทางวิชาการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ ๑๖ "นวัตกรรมการศึกษา : กล้าเปลี่ยน สร้างสรรค์ ยกระดับคุณภาพการศึกษไทย" (OEC Symposium)  ผลงานการคัดเลือกจากโรงเรียนบ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคีโรงเรียนวัดชะแล้ โรงเรียนบ้านควนเนียง และโรงเรียนวัดนาหม่อม และกิจกรรมการให้คำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยทางการศึกษาในคลินิวิจัย โดย ผศดรจตุพล ยงศร อาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ รศดรอาฟีฟี ลาเต๊ะ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสสงขลานครินทร์

.

 

สำหรับการสัมมนาวิชาการระดับภูมิภาค : การวิจัยทางการศึกษา ใน  ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นโดย สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา กำหนดให้จัดสัมมนา  ครั้ง ในระดับภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งจัดมาแล้ว ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่  ภาคกลาง ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่นครั้งที่  ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่  ภาคตะวันออก ที่จังหวัดระยอง และครั้งนี้ จัดเป็นครั้งที่  ภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ สกศจะรวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการจัดสัมมนา เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะส่งเสริมการทำวิจัยทางการศึกษา และการนำงานวิจัยดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป  

.

 

.

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด