สกศ.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น และการอพยพหนีไฟ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕

image

วันนี้ (๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕)  ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น และการอพยพหนีไฟ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และได้รับเกียรติจาก นายฤทธิ์เดช กิจขยัน เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติการ กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสถานีดับเพลิงสามเสน และทีมงาน เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ โดยมี 

 


รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ (นางสาวสอาดลักษม์ จงคล้ายกลาง) ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เข้าร่วมฝึกอบรม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร อาคาร ๕๖ ปี สกศ.

.


การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของ สกศ. มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเบื้องต้นและการอพยพหนีไฟที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถระงับเหตุเบื้องต้นหรือลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นให้ลดน้อยลงได้ 

 

 
นายฤทธิ์เดช กิจขยัน วิทยากรบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรของสำนักงานฯ ในเรื่องทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ ประเภทของเพลิง และมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งองค์ประกอบ ๓ อย่างที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ คือ ๑) เชื้อเพลิง ๒) ออกซิเจน และ ๓) ความร้อน  สาเหตุเกิดได้จากธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า และคนทำให้เกิดขึ้น โดยอาจเกิดจากความประมาททั้งในเรื่องของการใช้ไฟฟ้า  การใช้ความร้อน  การใช้แก๊สหุงต้ม อุบัติเหตุ และเจตนา  

 


สำหรับการป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น ได้แก่ การถอดปลั๊กทุกครั้งหลังการใช้งาน  และไม่เสียบปลั๊กไฟในปลั๊กรางเดียวกันหลายๆ ปลั๊ก ในส่วนของประเภทของไฟในประเทศไทย มี ๔ ประเภท คือ ๑) ประเภท A เป็นเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง เช่น กระดาษ  ไม้ ผ้า  ยาง พลาสติก ฯลฯ การควบคุมโดยการลดความร้อน ใช้น้ำฉีดพ่นต้นเพลิง  ๒) ประเภท  B  เป็นเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ติดไฟง่าย และก๊าซ เช่น น้ำมันไวไฟ  ทินเนอร์ ฯลฯ  ควบคุมโดยทำให้เกิดการอับอากาศ ควบคุมปริมาณออกซิเจน ๓) ประเภท C เป็นเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ  สายไฟ ฯลฯ ควบคุมโดยตัดกระแสไฟฟ้า  และ ๔) ประเภท D เป็นเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะหรือสารเคมีติดไฟง่าย เช่น  โซเดียม   แม็กนีเซียม ฯลฯ ควบคุมโดยใช้สารเคมี  ทราย  ผงแกรไฟต์  ทั้งนี้ การโทรศัพท์เรียกดับเพลิงให้โทรเบอร์ ๑๙๙

 


ในช่วงบ่ายมีการสาธิตและแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ รวม ๓ ฐาน ฐานที่ ๑ การใช้เครื่องมือดับเพลิงและวิธีดับเพลิง ฐานที่ ๒ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ฐานที่ ๓ การอพยพหนีไฟและการหนีไฟ

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด