สกศ.ประชุมติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ รอบ ๖ เดือนแรก

image

วันนี้ (๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ รอบ ๖ เดือนแรก ประเด็น “นโยบายและทิศทางด้านการศึกษาต่อการขับเคลื่อนองค์กรสู่ระบบราชการ ๔.๐” โดยมี เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อรรถพล สังขวาสี) เป็นประธาน และผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) ที่ปรึกษาด้านวิจัยและประเมินผลการศึกษา (นางศิริพร ศริพันธุ์) ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ) (นางพิจารณา ศิริชานนท์)  ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (นางรุจิรา สุนทรีรัตน์) พร้อมด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการ สกศ. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี และการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

     สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีการเสวนาประเด็น “นโยบายและทิศทางด้านการศึกษาต่อการขับเคลื่อนองค์กรสู่ระบบราชการ ๔.๐” โดย เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อรรถพล สังขวาสี) ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่) และได้รับเกียรติจาก ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. (คุณขนิษฐา งามวงศ์สถิต) บรรยายประเด็น “ความสำคัญของการประเมินสถานะระบบราชการ ๔.๐

 

     ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวเปิดประชุมใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า สกศ. จำเป็นต้องส่งเสริมนโยบายและทิศทางด้านการศึกษาต่อการขับเคลื่อนองค์กรสู่ระบบราชการ ๔.๐ โดยกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ สกศ. ให้ชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน อีกทั้งยังสามารถยกระดับยกระดับองค์กรสู่ระบบราชการ ๔.๐ ได้อีกด้วย

     ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. มีภารกิจการดำเนินงานที่ชัดเจน เน้นการจัดทำนโยบายแบบมีส่วนร่วม วางแผนยุทธศาสตร์ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้รับบริการ นั่นคือประชาชน นอกจากนี้ยังเน้นว่าการดำเนินงานควรให้ความสำคัญกับบุคลาการ ต้องทำให้ “เป้าหมายขององค์กรคือเป้าหมายบุคลากร” เมื่อมีเป้าหมายเดียวกัน บุคลากรจะได้ทำงานตรงตามความรู้ ความสามารถ มีความสุขในการทำงาน และยังสามารถทำให้องค์กรพัฒนาไปสู่ระบบราชการ ๔.๐ ต่อไป

      คุณขนิษฐา งามวงศ์สถิต ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. บรรยายประเด็น “ความสำคัญของการประเมินสถานะระบบราชการ ๔.๐ ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ระบบราชการ ๔.๐ มีลักษะดังนี้ ภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยง ภาครัฐที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และภาครัฐที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย ซึ่งมีปัจจัยความสำเร็จ ที่จะนำองค์กรสู่ระบบราชการ ๔.๐  ประกอบด้วย ๑) การสานพลังทุกส่วน (Collaboration) การปรับความคิดจากการให้ความร่วมมือไปสู่การทำงานร่วมกัน ๒) การสร้างนวัตกรรม (Innovation) โดยคิดค้นวิธีการรูปแบบใหม่ๆในการทำงาน และ ๓) การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digitalization) นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างประสิทธิภาพและแก้ปัญหา

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด