เปิดฉาก Ed in Thai มหกรรมการศึกษาไทย ๓ รมต.ศธ. ย้ำบทบาท สกศ. ขงเบ้งการศึกษาชั้นเยี่ยมตีโจทย์แตกพัฒนาคน-พัฒนาประเทศชี้ทิศทาง Next Normal ได้ไปต่อ

image

 

   วันนี้ (๒๗ กันยายน ๒๕๖๔) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุม "มหกรรมการศึกษาไทย" Education in Thailand ผ่านเครือข่ายระบบออนไลน์ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ได้รับเกียรติจากองคมนตรี (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.กนกวัลย์ วิลาวัลย์) และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมมอบนโยบายและปาฐกถาพิเศษ โดยเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) พร้อมคณะผู้บริหาร สกศ. ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการ ครู ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางออนไลน์ โดยสำนักสื่อสารองค์กร สกศ. ถ่ายทอดสดผ่านสื่อดิจิทัล Facebook live และ YouTube : OEC News สภาการศึกษา ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ 
 

     นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งระหว่างพิธีเปิดและมอบนโยบายและทิศทางการพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เน้นย้ำถึงการขับเคลื่อน ๑๒ นโยบาย และ ๗ ควิกวิน เพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน ๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองรับกระแสการเปลี่ยนแปลง ๒) การพัฒนาประสิทธิภาพครูอย่างรอบด้าน ปรับกระบวนการสอนใหม่เรียนรู้เท่าทันดิจิทัล ๓) การเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาด้วย Big data ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด และ ๔) การศึกษาเพื่ออาชีพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ผลิตกำลังคนตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงาน ซึ่งความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนจะได้เสนอแนะเชิงนโยบายแก่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ปรับใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน         


    ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขยายความถึงนโยบายสำคัญที่ครอบคลุม ๔ เรื่อง ๑) ชื่นชม สกศ. ทำหน้าที่ขงเบ้งทางการศึกษาได้อย่างดียิ่ง และเป็นเจ้าภาพสำรวจผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ IMD ปี ๒๕๖๕ เพื่อยกระดับดัชนีตัวชี้วัดด้านการศึกษาที่สูงขึ้น ๒) ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากการศึกษาขั้นพื้นฐานขยายไปสู่กลุ่มเด็กปฐมวัย และวัยแรงงาน ที่ต้องการยกระดับ/ปรับทักษะ (Upskill-Reskill) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ยืดหยุ่น ตอบสนองศักยภาพที่หลากหลายผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำวัน ๓) ย้ำจุดเน้นนโยบายการศึกษาปี ๒๕๖๕ มุ่งเน้นขับเคลื่อน Coding Community ขยายการเรียนการสอน Coding สู่ทุกภาคส่วนทุกช่วงวัย ผสานศาสตร์และศิลป์ STEAM โครงการวิทยาศาสตร์พลัง ๑๐ ขยายโอกาสเรียนวิทย์-เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างกว้างขวางและ ๔) ขยายโอกาสทางการศึกษาเข้าถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเช่นเดียวกับกลุ่มผู้พิการ เปลี่ยนบ้านเป็นโรงเรียนเปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นความท้าทายที่มีเป้าหมายเดียวกันเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติทุกมิติด้วยการเติม ต่อยอด อย่างยั่งยืน     
 
                   


     สอดคล้องทิศทางเดียวกับ ดร.กนกวัลย์ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้ถึงความจำเป็นต่อจุดเน้นการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืนในจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการศึกษาเอกชน ที่เปิดกว้างเปิดรับฟังทุกปัญหาจากทุกภาคส่วนร่วมปรับปรุงการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นจัดสรรค่าใช้จ่ายรายหัวที่สะท้อนความเป็นจริง ดูแลโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน มีความสุขและขยายโอกาสการศึกษาทุกมิติ 


     ในการปาฐกถาพิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวถึง "การศึกษาเพื่อความยั่งยืน" ความสำคัญตอนหนึ่งว่า เป้าหมายระบบการศึกษาไทยที่ยั่งยืนต้องยืดมั่นในความยั่งยืนของผู้คน สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความยั่งยืนของโลก ที่มีความสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่มี ๑๗ เป้าหมาย ดังนั้น ศธ. และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ต้องรับผิดชอบความอยู่ดีกินดีของคนไทยทั้ง ๖๗ ล้านคนไม่ใช่แค่เด็กอีกต่อไป โดยยังได้กล่าวถึงประวัติชนเผ่าไทย รวมทั้งวิเคราะห์โครงสร้างสังคมไทยปัจจุบัน ที่แบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ ๑)เมืองบน หรือวิถีชีวิตเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ฯ ที่มุ่งเน้นความแข็งแกร่ง พึ่งตนเองได้ และส่งเสริมการแข่งขันและ ๒) เมืองลุ่ม หมายถึงวิถีชีวิตคนชนบท ที่ยังมีความต้องการพึ่งพาตนเองได้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พร้อมน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ผสมผสานร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDGs) ที่ให้ความสำคัญในเป้าหมายที่ ๔ Quality Education การสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ครอบคลุมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของเด็กชายและเด็กหญิงในทุกระดับ โดย สกศ. ต้องทำหน้าที่ดูแลจัดระบบการศึกษาที่ทันสมัย ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และกำหนดมาตรฐานกลางใช้วัดและประเมินผลการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น 
     

     ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ฉายมุมมองและชี้ทิศ "การศึกษาไทยหลังโควิด-๑๙" ที่น่าสนใจประการหนึ่งว่า เมื่อโลกเปลี่ยนเราต้องปรับ โจทย์สำคัญของการเปลี่ยนผ่านแม้มีการปฏิรูปการศึกษามาตลอด ๕ ปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้ความอดทนและชี้ทิศทางที่ชัดเจนนำพาคนไทยสอดรับพลวัตของโลก ภายใต้แนวคิด ๗ ขยับปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย ๑.อยู่ในโลกที่ไม่ใช่ใบเดิม ปรับกระบวนทัศน์จากการควบคุมธรรมชาติไปสู่การอยู่ร่วมธรรมชาติอย่างสมดุล ๒.ท่องโลกกว้าง เรียนรู้เชิงประจักษ์ ขับเคลื่อนด้วยปัญญามนุษย์ไม่ใช่ความโลภ สร้างการเติบโตหลากหลายมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลความเป็นมนุษย์ ขยายกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ๓.เติมศักยภาพ มุ่งสิ่งที่ชอบ ทำสิ่งที่ใช่ ค้นหาดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมากให้มากที่สุด ๔.ผนึกกำลังร่วมรังสรรค์ เริ่มจากสำรวจสืบค้น ทดลองปฏิบัติ สร้างเสริมประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ครูและผู้ปกครองปรับเปลี่ยนจากการสอนเป็นการแนะนำสนับสนุนสร้างความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของตัวเด็ก ๕.รับมือกัการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๖.เตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ และ ๗.เสริมปัญญามนุษย์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ทั้งหมดต้องเปลี่ยนมุมมองและมองโลกรอบตัวกว้างขึ้น การจัดการศึกษาต้องปรับหลักสูตรที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อนาคต เรียนรู้บนออนไลน์เปิดโลกกว้างแต่การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำส่งเสริมความรู้เชิงลึกเป็นการศึกษาที่ผสมผสานร่วมกัน การปฏิรูปการศึกษาต้องไปต่อโดยหมุดหมายสำคัญประเทศไทยต้องอยู่ให้ได้ในประชาคมโลกด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์
 


     ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สกศ. สร้างพื้นที่สาธารณะผ่านการประชุม "มหกรรมการศึกษาไทย" Education in Thailand เพื่อขยายแนวร่วมคิด ร่วมพัฒนาการศึกษาเป็นเวทีสาธารณะเผยแพร่องค์ความรู้ของ สกศ. ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันประเด้นร่วมสมัยการศึกษาที่สำคัญ ส่งเสริมกลไกการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความยั่งยืนในสถานการณ์โควิด-๑๙ เป็นตัวเร่งให้ต้องปรับตัวพัฒนาการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงได้กำหนดการประชุมครอบคลุมใน ๔ ประเด็น ๑) ประเด็นร่วมสมัยการศึกษา ๒) การศึกษาตลอดช่วงชีวิต ๓) การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และ ๔) ห้องปฏิบัติการทางนโยบาย รวม ๑๗ หัวข้อต่อเนื่องระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ 
.
     ผ่านการเรียนรู้ Variety YouTube ที่มี ๑๗ หมุดหมายสำคัญให้ผู้สนใจได้เลือกแชร์ไอเดียต่อยอดพัฒนาการศึกษาไทย Next Normal โดย สกศ. ได้รวบรวมความเคลื่อนไหวทางการศึกษาทั้งที่ดำเนินการภายใน สกศ. และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องในระหว่างปี ๒๕๖๓ -๒๕๖๔ อาทิ การขับเคลื่อนแผนปฏิรูปการศึกษา ความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติและการเรียนรู้ ความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ฯลฯ โดยประมวลข้อมูลภาพรวมด้านการศึกษาของประเทศไทยปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษา มาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษา การบริหารและการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา การเข้าถึงการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดสรรงบประมาณและการลงทุนเพื่อการศึกษา การศึกษานานาชาติในประเทศไทยและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา ซึ่งในหลากหลายมิติการพัฒนาต้องการทุกความคิดเห็นมาร่วม "ออกแบบนโยบายการศึกษา" และสรุปทิศทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยอนาคต ผ่านการประชุม Variety YouTube ที่มี ๑๗ หมุดหมายสำคัญนี้ 
.
วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔
     ๑.ทิศทางปฏิรูปการศึกษาไทย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ สมรรถนะคนไทยสู่คนคุณภาพสากล https://youtu.be/EDmu5aw1p_A  
     ๒.EF กับเด็กปฐมวัย Can Do ครูทำได้ https://youtu.be/CmF0eNm6_vc
     ๓.ดัชนีการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://youtu.be/W1I9O_aGIzg
     ๔.ข้อเสนอการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: ความเข้าใจ ความเชื่อ หรือความมั่นคง https://youtu.be/kRzPOnBcQoc

วันที่สอง ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔  
     ๕.การเรียนรู้ในยุคโควิด เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างไร https://youtu.be/s5k6qrMNOcc
     ๖.Platform การสอนออนไลน์ แนวทางการประยุกต์ใช้และตัวอย่างระดับประเทศ https://youtu.be/cm0nKY4Yl9w
     ๗.ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม https://youtu.be/b3Qg1sRx_tE 
     ๘.พลิกโฉมการศึกษาของชาติด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม โครงการ mission แมวมอง แมวมี https://youtu.be/YJWoZeX_QYA
     ๙.ลดความเหลื่อมล้ำอย่างไร ให้เด็กไทยได้ไปต่อ https://youtu.be/8JNfZusP7M4
     ๑๐.How to สู่ DOE Thailand บทเรียนจากสถานศึกษาร่วมคิด ร่วมทำ นำเด็กไทยสู่ DOE https://youtu.be/6__ZD6bo9lk
     ๑๑.การพัฒนาการเรียนรู้ที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน การเตรียมกำลังงานคุณภาพสำหรับอนาคต https://youtu.be/mjGZEAy_wFQ
     ๑๒.การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้เรียนอาชีวศึกษา https://youtu.be/t2Uo-XZjS48
     ๑๓.ถอดรหัสพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่เป็นอิสระ https://youtu.be/Ev3mwPRjGUc
.
วันสุดท้าย ๒๙ กันยายน ๒๕๖๔ 
     ๑๔.การศึกษากับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ https://youtu.be/r2RqL2StZlc
     ๑๕.ทวิภาคีกับการขับเคลื่อนประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา https://youtu.be/_XtSTsL1NKQ
     ๑๖.ผลิต-คัดกรอง-พัฒนาครู ผู้บริหาร อย่างไร ให้ผ่านพ้นวิกฤติที่ท้าทายและปั่นป่วนจากหลายปัจจัยรุมเร้า https://youtu.be/-QUxUBLQDUU
     และ ๑๗.แผนการศึกษาแห่งชาติกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... https://youtu.be/ouM0pGwBO0I
.
ทั้งหมดร่วมแชร์ไอเดียได้ใน OEC News สภาการศึกษา
• Website: http://www.onec.go.th
• YouTube: https://bit.ly/2zXPkxO
• LINE: @OECNews http://line.me/ti/p/@OECNews
• Blockdit: https://www.blockdit.com/oecnews
 

ภาพและข้อมูลเพิ่มเติม enlightened  https://www.facebook.com/media/set/?vanity=627180797293850&set=a.6533348613343676

 

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด