คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) เดินหน้าพลิกโฉมการพัฒนากำลังคนของประเทศ เห็นชอบ การขอขึ้นทะเบียนหลักสูตรตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของ 8 วิทยาลัยนำร่อง พร้อมหลักสูตร short course training เติมเต็มสมรรถนะกำลังคน

image

วันนี้ (21 กรกฎาคม 2564) รองนายกรัฐมนตรี (ดร.วิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ทำหน้าที่ประธาน “การประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) ครั้งที่ 2/2564” ผ่านระบบออนไลน์ 



การประชุมในวันนี้ มีวาระหลักเพื่อผลักดันการขับเคลื่อนงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรี ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) และกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) สู่การปฏิบัติ โดยที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบ “การขอขึ้นทะเบียนหลักสูตรตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ของ 8 วิทยาลัยนำร่อง” ซึ่งเป็นการบูรณาการงานของ 4 องค์กรหลัก คือ (1) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) (2) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน (3) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) และ (4) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในการเชื่อมโยงหลักสูตรการเรียนการสอนกับมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ใน 8 สาขาอาชีพที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่ (1) โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน (ระบบราง) (2) โลจิสติกส์และซัพพลายเชน (3) หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (4) ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน (5) อาหาร (6) เกษตร (7) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์ และ (8) แม่พิมพ์/เครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น สำหรับพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา และคนในอาชีพทั้ง 8 สาขาอาชีพดังกล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงาน NQF ภายหลังจากที่ได้ประกาศใช้ “กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ” (ฉบับปรับปรุง) ในปี 2560 คณะรัฐมนตรีได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ โดยมีคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการฯ จำนวน 4 คณะ และคณะทำงานภายใต้คณะอนุกรรมการฯ จำนวน 11 คณะ เป็นองค์คณะหลักในการขับเคลื่อนงาน NQF ผ่านความร่วมมือของหน่วยงานหลักด้านคุณวุฒิการศึกษา และคุณวุฒิวิชาชีพของประเทศ โดยมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานมาเป็นลำดับ อาทิ

• การผลักดันให้เกิดการรับรองเอกสารที่เป็นสาระสำคัญในการขับเคลื่อนงาน NQF จากคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการระดับอาเซียน ได้แก่ (1) คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ “แผนขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ พ.ศ. 2562 – 2565” และ “แผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565” และ (2) การรับรอง “รายงานการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) กับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ของประเทศไทย” จากคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน

• การจัดทำคำขอจัดตั้ง “สำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ” เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และการจัดทำ (ร่าง) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยปลดล็อคการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการจัดการศึกษาและฝึกอบรมของประเทศ


โดย สกศ. ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักขับเคลื่อนงานดังกล่าว ในนาม “ทีมประเทศไทย” พร้อมเตรียมเสนอความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อผลักดันให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด