NQF เน้นพัฒนาประเทศให้เป็น Smart Industry ด้วยการเชื่อมโยงโลกการศึกษากับอาชีพ และรับรองสมรรถนะกำลังคนในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ

image

วันที่ 24 - 25 มิถุนายน 2564 ดร.ศิริพรรณ ชุมนุม ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน “การประชุมเพื่อเชื่อมโยงหลักสูตรกับมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สาขาอาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ณ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จ.ชลบุรี ควบคู่กับการประชุมผ่านระบบออนไลน์ พร้อมด้วย ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ รองเลขาธิการสภาการศึกษา นายวณิชย์ อ่วมศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) พร้อมผู้อำนวยการ ผู้บริหาร อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ และตัวแทนสถานประกอบการในพื้นที่เข้าร่วมประชุม





วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เป็นสถานศึกษานำร่องที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management: CVM) สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ถือเป็นวิทยาลัยต้นแบบ “สัตหีบ Model” เพื่อพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขต EEC และมีโครงการความร่วมมือกับภาคเอกชนตามเป้าหมาย Smart Industry ในอนาคต นอกจากนี้แล้ว วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ยังเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานอาชีพ และมาตรฐานฝีมือแรงงานของ 2 หน่วยงานหลัก สคช. และ กพร. ในสาขาที่เป็นอุตสาหกรรมหลัก คือ 1) แม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์พลาสติก 2) เมคคาทรอนิกส์ 3) การเชื่อมอุตสาหกรรม และนักตรวจสอบโดยไม่ทำลาย ของ สคช. และมาตรฐานฝีมือแรงงานในอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร 
.
การขับเคลื่อนงานในสาขาอาชีพนำร่อง “หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” มุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาในสาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ เพื่อให้มีสมรรถนะตามความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ และมีสมรรถนะตามมาตรฐานสากล ถือเป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญตามนโยบายการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และแผนการเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) กับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ของประเทศไทยในอนาคต

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด