สกศ. จับมือ สอศ. เปิดตัวโครงการพัฒนา “สถานศึกษาอาชีวศึกษาดิจิทัลต้นแบบ ปูทางสร้าง Partner ดึงสถานประกอบการวางกลยุทธ์ปั้นผู้เรียนอาชีวยุค AI

image

วันนี้ (๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔) เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) ร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเชิงโยบายการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้เรียนอาชีวศึกษาครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ ในรูปแบบการประชุมออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นายมณฑล ภาคสุวรรณ์) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.จุลนี เทียนไทย  ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ นายวณิชย์ อ่วมศรี ประธานคณะทำงาน ฯ ดร.ศิริพรรณ  ชุมนุม รองประธานคณะทำงาน ฯ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (นายสำเนา เนื้อทอง) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต อาคาร ๒ ชั้น ๒ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) 



การประชุมครั้งนี้เป็นการเปิดตัวโครงการพัฒนา “สถานศึกษาอาชีวศึกษาดิจิทัลต้นแบบ” โดยมีการนำเสนอแผนการดำเนินงานการพัฒนาสถานศึกษาอาชีวศึกษาดิจิทัลต้นแบบ ความพร้อม และการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่ จากผู้แทนของวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี และวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ซึ่งสถานศึกษาทั้งสองแห่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สกศ. 
.
สำหรับแผนดำเนินงานมีจุดเน้นที่สำคัญ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) แผนการบริหารจัดการสถานศึกษา (Roadmap) ๒) การหาหุ้นส่วน (Partner) เพื่อมาทำเครือข่ายและกลยุทธ์การทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษา  ๓) ชุดการเรียนรู้ (Learning Package) ของแต่ละสาขาที่บูรณาการกับองค์ความรู้ของสถานประกอบการ และ 4) แผนปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win)
.
เบื้องต้นมีการวางแนวทางหาหุ้นส่วน (Partner) ระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ อาทิ บริษัท Google ประเทศไทย  บริษัท Microsoft ประเทศไทย และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพานิชย์ (SCB) เตรียมสร้างชุดการเรียนรู้ที่ผสานกับแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมอย่าง Google ทั้งนี้ Google Classroom Google Meet และ Google Form มาบูรณาการองค์ความรู้จากสถานประกอบการ และนำไปสู่การจัดอบรมครูผู้สอนให้มีทักษะด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ทันสมัย สามารถพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างสมรรถนะด้านดิจิทัลที่หลากหลายให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ผลลัพธ์สำคัญ คือ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถนำไปสู่การประกอบอาชีพได้ทันที โดยแนวทางดังกล่าวเป็นการนำร่องรูปแบบ (Model) การสร้างสมรรถนะด้านดิจิทัลให้กับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาได้ต่อไปในอนาคต 


       


     

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด