สกศ. จี้อัปเกรดยกแผง ครู-นร.-ชุมชน ยกการ์ดสูงฝ่าวิกฤตการศึกษาโควิด-๑๙ ต้องพร้อมรับ-ปรับตัว-เปลี่ยนแปลงเรียนรู้ New Normal ไปด้วยกัน

image

  ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า การศึกษาของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(โควิด-๑๙) ค่อนข้างมากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)เร่งส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้และลดการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องภายหลังได้ศึกษานโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-๑๙ ในต่างประเทศ พบว่า หลายประเทศจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์พร้อมแหล่งทรัพยากรการ
เรียนรู้ พร้อมทั้งการศึกษาทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือวิธีการอื่น ๆ เพื่อปรับให้เข้ากับเทคโนโลยีที่มีและให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้จากทุกที่ เช่น ฟินแลนด์ ได้เปิดให้บริการทรัพยากรทางการศึกษา/แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ต่างๆ โดยครูที่มีชื่อเสียงฝรั่งเศสขยายโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีอยู่และสนับสนุนให้มีที่ปรึกษาด้านดิจิทัลแก่ครู เกาหลี จัดหาอุปกรณ์ดิจิทัลและค่าอินเทอร์เน็ตให้กับผู้เรียนที่ด้อยโอกาส สหรัฐอเมริกา จัดทำแหล่งข้อมูลและทรัพยากรในการเรียนรู้สำหรับนักการศึกษาและครอบครัว
.
ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ กล่าวว่า บางประเทศมีการจ้างบุคลากรและอาสาสมัครเพื่อช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น อังกฤษ สนับสนุนให้โรงเรียนจ้างพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาด้านวิชาการ เพื่อช่วยผู้เรียนให้เรียนทันและเรียนทดแทนในช่วงที่การเรียนรู้ขาดหายไปและญี่ปุ่นจ้างครูที่เกษียณ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและคนในชุมชนเข้ามาช่วยในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนที่ไม่ได้เข้าเรียนจากการศึกษาแนวทางการดำเนินงานของต่างประเทศพบว่ามียุทธศาสตร์สำคัญคือการระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOS) ชุมชน ครูเกษียณ และอาสาสมัครเข้ามาช่วยออกแบบและจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนรวมทั้งร่วมมือพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ สื่อ อุปกรณ์ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
.
 "สกศ. จึงได้สังเคราะห์ข้อเสนอแนวทางการรับมือและฟื้นฟูการศึกษาให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์โควิด-๑๙ มีสาระสำคัญเพื่อเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเร่งรัดพัฒนาครูและผลิตครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลเร่งรัดการพัฒนาหลักสูตรวิธีการเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมสื่อและการวัดประเมินผลให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์วิกฤตจัดให้มีศูนย์สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาในระดับพื้นที่และจัดให้มีมาตรการดูแลความปลอดภัยแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เช่น อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรควัคซีน เป็นต้น ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวจะเป็นแนวทางฟื้นฟูและพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดผลกระทบของสถานการณ์โควิด-๑๙ต่อการจัดการศึกษาในด้านคุณภาพผู้เรียนอินเทอร์เน็ตและภาระผู้ปกครอง" เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าว
.
สำหรับแนวทางการฟื้นฟูการศึกษาหลังโควิด-๑๙ นั้น องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ร่วมกับ EI (Education International)ได้เสนอหลักการเพื่อการฟื้นตัวทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน เช่น การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ทางไกลที่ออกแบบเพื่อให้นักเรียนทุกคนเข้าถึงได้การสนับสนุนครูให้สามารถทำงานได้ในสถานการณ์วิกฤต การส่งเสริมผู้ปกครองให้ทำงานร่วมกันในการสนับสนุนผู้เรียน การส่งเสริมผู้เรียนให้ตรงตามความต้องการด้านการเรียนรู้ สังคมและอารมณ์ การส่งเสริมให้ครูและผู้เกี่ยวข้องร่วมออกแบบและสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ด้วยดิจิทัล และการส่งเสริมครูให้ได้รับการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
.
ทั้งนี้ สกศ. ได้สังเคราะห์ยุทธศาสตร์สนับสนุนการศึกษาในสถานการณ์วิกฤตของนานาชาติดังกล่าว อาทิ การมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วนการจัดบุคลากรและอาสาสมัครเข้ามาช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนการมีที่ปรึกษาให้แก่ครูในด้านเทคโนโลยีการศึกษาสรุปข้อเสนอเชิงนโยบายเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)
เพื่อปรับกลไกส่งเสริมการเรียนรู้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ระดมความร่วมมืออย่างจริงจังจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก ศธ. ภาคเอกชน ภาคประชาชน พ่อแม่ผู้ปกครอง และอาสาสมัคร เพื่อระดมพลังและทรัพยากรทางการศึกษาต่าง ๆ ช่วยกันพัฒนาการศึกษาวิถีปกติใหม่ (New Normal) ให้มีคุณภาพที่ดีทั้งในช่วงสถานการณ์วิกฤตและในอนาคตระยะยาว
.
ผู้สนใจศึกษารายงานเพิ่มเติมได้ที่ รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-๑๙   http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1834

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด