สกศ. ถกปัญหาลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลงพื้นที่โรงเรียนห่างไกล จ.สุราษฎร์ธานี

image

 

 

วันนี้ (๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔) ในช่วงเช้า ที่โรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์) พร้อมด้วยรองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ) ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สกศ. (นางศิริพร ศริพันธุ์) นำคณะ ลงพื้นที่ประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง การบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยมี รอง ผอ. สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๑ (นางสุชาดา ลิ่มสวัสดิ์)  ผู้อำนวยการโรงเรียน (นายสมใจ สิกขวัฒน์) ให้การต้อนรับ

โรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๑ ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ๓ มีนักเรียน ๒๖๐ คน ครู ๑๖ คน ธุรการ ๑ คน พี่เลี้ยงเด็กเรียนร่วม ๑ คน การจัดการเรียนการสอน Active Learning สู่ห้องเรียน และส่งเสริมการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ

ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ๑) ด้านความยากลำบากในการเดินทาง ไม่มีรถประจำทาง/รถรับส่ง มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ยานพาหนะที่ใช้เป็นมอเตอร์ไซต์ ๒) ด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและครอบครัว เด็กนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษมีมากกว่าร้อยละ ๘๐ รายได้ครัวเรือนน้อยกว่า ๑๘,๐๐๐ บาท/ปี ประกอบอาชีพประมง รายได้ไม่แน่นอน ๓) ด้านสถานะทางครอบครัว ลักษณะที่อยู่อาศัยทรุดโทรม นักเรียนอาศัยอยู่กับผู้อื่น ครัวเรือนมีภาระพึ่งพิง (พ่อ/แม่เลี้ยงเดี่ยว)

 

ในช่วงบ่าย ที่โรงเรียนวบ้านเกาะนกเภา ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี  ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์) พร้อมคณะลงพื้นที่ประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง การบูรณาการความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยมี ผู้อำนวยการโรงเรียน (นางสาวอารี มลไชย) ให้การต้อนรับ

โรงเรียนวบ้านเกาะนกเภา จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ มีนักเรียนทั้งหมด ๗ คน  (ป.๑ ไม่มีนักเรียน ป.๒ จำนวน ๒ คน ป.๓ จำนวน ๑ คน ป.๔ จำนวน ๑ คน ป.๕ จำนวน ๑ คน ป.๖ จำนวน ๒ คน และน้องที่ตามพี่มาเรียน จำนวน ๔ คน) บุคลาการทางการศึกษา ๖ คน จัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาทางไกล ผ่านระบบดาวเทียม ส่งเสริมนักเรียนให้ใช้สื่อเพื่อค้นคว้าหาความรู้

ข้อมูลที่บ่งชี้สภาพความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ได้แก่ ๑) ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา ๒) สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว เด็กยากจนพิเศษทุกคน รายได้ต่อหัวครัวเรือนน้อย ผู้ปกครองประกอบอาชีพประมงร้อยละ ๑๐๐ ๓) สถานะครอบครัว ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ระบบการศึกษาของผู้ปกครอง

จำนวนนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๒ คิดเป็นร้อยละ ๔๐ พ.ศ. ๒๕๖๒ คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๗๗ และพ.ศ. ๒๕๖๓ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด