สกศ. จับมือ อ.กรอ.อศ. และ สคช. ประยุกต์ใช้มาตรฐานอาชีพ เพื่อการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

image

วันนี้ (22 มีนาคม 2564) ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ รองเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมด้วย นายกวิน เสือสกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา เข้าร่วมการประชุมหารือคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนฯ (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพแม่พิมพ์ ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม โดยมี ดร.กมล นาคะสุวรรณ ประธานอนุกรรมการฯ เป็นประธานการประชุม นายนิรันดร์ วงษ์จิ๋ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ และ ดร.บรรเจิด ดอนเนตรงาม สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) เข้าร่วมการประชุมหารือ และเยี่ยมชมสถานศึกษา
 
 
 
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม จัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติ ระบบทวิภาคี และระบบเทียบโอนประสบการณ์ โดยเปิดสอนสาขาที่เกี่ยวข้องกับแม่พิมพ์ ด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ร่วมกับ สคช. กรมพัฒนฝีมือ (กพร.) และสถาบันไทย – เยอรมัน (Thai-German Institute: TGI) พัฒนาหลักสูตรตามสมรรถนะในมาตรฐานอาชีพ/มาตรฐานฝีมือแรงงาน ในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. สาขาแม่พิมพ์พลาสติก แม่พิมพ์โลหะ และปริญญาตรีสายเทคโทโลยี (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
 
 
 
 
 
ปัจจุบันวิทยาลัยฯ มีความพร้อม ทั้งในส่วนของห้องปฏิบัติการ และครุภัณฑ์การฝึก โดยได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาอาชีพแม่พิมพ์ ของ สอศ. ศูนย์ทดสอบมาตรฐานอาชีพ และศูนย์พัฒนาบุคลากรของ TGI ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของ กพร. และองค์กรรับรองมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ของ สคช. 
 
 
 
 
 
.
ความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ตามหลักการของ Public-Private Partnership (PPP) ในการดำเนินการของ อ.กรอ.อศ. ด้วยการผลักดันการผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) กับ สคช. และสถาบันการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ให้สอดคล้องตามสมรรถนะ (Competency) ของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ทั้ง 8 ระดับ โดยการนำรูปแบบในการเทียบเคียงหลักสูตรการศึกษากับมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพของ สคช. มาปรับใช้ 
 
 
จากนโยบายในการดำเนินงานของ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพแม่พิมพ์ ซึ่งมุ่งเน้น (1) การพัฒนาครู (2) การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ (3) การพัฒนาการจัดครุภัณฑ์ และสื่อการสอน และ (4) แนวทางความร่วมมือของสถานศึกษาและสถานประกอบการ ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ในการนำไปใช้สำหรับภาคการศึกษา (ด้วยการศึกษาในระบบ) การฝึกอบรมอาชีพ (ด้วยการศึกษานอกระบบ) และภาคผู้ประกอบการ (ด้วยการศึกษาตามอัธยาศัย) ที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ และตรงกับการพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด