สกศ. ประชุมคณะทำงาน อพ.สธ.-สกศ. ส่งเสริมการสร้างจิตสำนักอนุรักษ์ ขยายฐาน DATA วางกรอบดำเนินงานแผนแม่บท อพ.สธ.-สกศ. ระยะห้าปีที่เจ็ด

image

วันนี้ (๒๒ มีนาคม ๒๕๖๔) รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.-สกศ.) ระยะที่ ๕ ปีที่เจ็ด (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมอภิปราย อาทิ นายกสมาคมครูภูมิปัญญาไทย (นายกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา) อดีตรองคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รองศาสตราจารย์ ดร. พัฒนา สุขประเสริฐ) รองผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ (นายปิยะ บริสุทธิ์เพ็ชร์) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) (นายตรีวิทย์ วินิชสำเภาทิพย์) ครูภูมิปัญญาไทย ร่วมหารือ ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)



คณะทำงานรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ อพ.สธ.-สกศ. ที่ผ่านมาจนถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๔ ได้ดำเนินงานภายใต้กรอบความคิด “การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร” ผ่านการวิจัยและถอดบทเรียนสวนพฤกษศาสตร์ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย กว่า ๒๓ คน ๕ โรงเรียน การจัดทำฐานข้อมูลครูภูมิปัญญาไทยทั้งหมด จำนวน ๕๐๓ คน รวมถึงการจัดทำ Web page อพ.สธ.-สกศ. เผยแพร่ทาง Website www.onec.go.th

 



สำหรับการดำเนินงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จะศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทยด้านเกษตรกรรมในการสืบสานอนุรักษ์ทรัพยากร
พื้นถิ่นอย่างยั่งยืน ไ
ปพร้อมกับการพัฒนาฐานข้อมูลครูภูมิปัญญาไทยของ สกศ. ให้ทันสมัยโดยเริ่มดำเนินการใน ๔ ด้าน คือ  ๑) ด้านเกษตรกรรม
๒) ด้านอุตสาหกรรมและหัตกรรม ๓) ด้านการแพทย์แผนไทย และ ๔) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ จะศึกษาองค์ความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพองค์รวม พร้อมทั้งดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลอีก ๕ ด้านให้ทันสมัย ทั้งนี้      ที่ประชุมตั้งข้อสังเกตเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ให้ดำเนินการเปิดเผยโดยความยินยอมและยึดหลักธรรมาภิบาล

ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ ร่วมให้ข้อเสนอแนะศึกษาความต่อเนื่องของการดำเนินงานไปพร้อมกันในทุกปี เนื่องจากแผนแม่บทเป็นแผนการทำงานระยะยาวจนถึงปี ๒๕๖๙ การศึกษาปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จของทุกระยะ รวมถึงกระบวนการรักษาความยั่งยืนของการนำไปใช้ 



จากนั้น ที่ประชุมร่วมกันเสนอโครงการที่ควรดำเนินการต่อในปี ๒๕๖๖ เพื่อเสนอต่อสำนักพระราชวังพิจารณา โดยเน้นงานวิจัยศึกษาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจัดพิมพ์หนังสือ ๒ เล่ม คือ ๑) ฐานข้อมูลครูภูมิปัญญา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๒) การส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร วัฒนธรรมและภูมิปัญญา : กรณีศึกษาองค์ความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพองค์รวม เผยแพร่ทางออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรต่อไป



 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด