สกศ.ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

image

 
เมื่อวันที่ ๒๒ - ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษาได้ดำเนินการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศ
ด้านการศึกษา ณ โรงแรมบลูเวฟ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๔๐ คน ในพื้นที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฐมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยมี ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ 
รองเลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่เป็นประธานในการเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ เรื่อง การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ มาตรา ๕๔ ได้กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษา ดังนี้ ๑. ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา ๑๒ ปี (ก่อนวัยเรียน – การศึกษาภาคบังคับ)  ๒. การดูแลและพัฒนาเด็กเล็กก่อนเข้ารับ การศึกษา ๓. จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลตามความต้องการของประชาชนในระบบต่างๆ และ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ๔. การศึกษาทุกระบบ ๕. กองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และในมาตรา ๒๕๘ จ ด้านการศึกษา กำหนดให้ (๑) เด็กเล็ก 
ให้สามารถเริ่มดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (๒) ตรากฎหมาย โดยดําเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา ๕๔ วรรคหก ให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (๓) มีกลไกและระบบผลิต คัดกรอง และพฒันาผู้ประกอบวชิาชีพครู และอาจารย์ ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับ ความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพคร (๔) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด (๕) ปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติ และระดับพื้นที่ และอีกส่วนที่สำคัญ คือ ในเรื่องของแผนปฎิรูปประเทศด้านการศึกษาซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ ในยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา มีประเด็นสำคัญอยู่ ๗ ประเด็น ๒๗ เรื่อง ได้แก่ ๑. การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง ๒. การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ๓. การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๔. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ๕. การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๖. การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ๗. การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform) เป็นต้น 
 
 
  หลังจากนั้นจึงเป็นการอภิปรายและรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... และ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. ....  โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ ท่าน ได้แก่ 
๑. สวัสดิ์ ภู่ทอง ๒. นายมานิตย์ คณะโต ๓. นายอาทร ทองสวัสดิ์ ๔. นายนิวัติ น้อยมณี ซึ่งในการอภิปราย
มีผู้เข้าร่วมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่สำคัญมากมาย เช่น ช่วงอายุวัย การเรียนออนไลน์ การอาชีวศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เชื่อมโยงไปยัง (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. .... เป็นต้น

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด