สกศ.ขับเคลื่อนการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

image

        เมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุม เรื่อง การพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ณ โรงแรมแมย์ฟลาวเวอร์ แกรนด์ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นเนื้อหาของการจัดทำสรุปสาระสำคัญและร่างคำอธิบายรายมาตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ (ฉบับประชาชน)แนวทางการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติ พ.ศ. ....และรับฟังความคิดเห็น
(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (เพิ่มเติม) พร้อมทั้งเผยแพร่ และสร้างความรับรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒๐๐ คน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์เด็กเล็ก และครูผู้ดูแลเด็กและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในกระทรวงอื่น

 

        โดยในช่วงเช้าวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๓ (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) รองเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการขับเคลื่อน
 

การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาได้กำหนดไว้ในมาตรา ๕๔ โดยให้ทุกคนได้รับการเรียนเป็นเวลา ๑๒ ปี (อนุบาล ๑ ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๓) และได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๘/๒๕๕๙ เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งกำหนดให้เรียนฟรีอีก ๓ ปี (อนุบาล ๑ ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ) รวมแล้วเป็นเวลา ๑๕ ปี และหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นการให้ความสำคัญกับความสนใจการศึกษาของรายบุคคล โดยให้ครูต้องเป็นการเปลี่ยน Mindset และวิธีการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละวิชาโดยเน้นการเข้าถึงผู้เรียนเป็นหลัก ในส่วนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕๘ จ.ด้านการศึกษา เป็นการกำหนดให้ (๑) สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา ๔๕ วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.๒๕๖๒ รองรับการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐) (๒) ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา ๕๔ วรรคหก ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ (พระราชบัญญัติกองทุน
เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ รองรับการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๖๐) (๓) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพครู (ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันหลักสูตรและการเรียนการสอนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....) (๓) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ และในส่วนของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาได้กำหนดประเด็นที่สำคัญไว้ ๗ เรื่อง ได้แก่ ๑. การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง ๒. การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
๓. การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๔. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ๕. การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๖. การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ๗. การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform)และต่อมาเป็นการบรรยาย เรื่อง วินัยข้าราชการ โดยนายสวัสดิ์ ภู่ทอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาโดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวินัยทางราชการและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับ

ในช่วงบ่ายเป็นการอภิปราย เรื่อง แนวทางการจัดทำ (ร่าง) พระราชบัญญัติสถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติ พ.ศ. .... โดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน ๒ ท่าน ได้แก่ นายมานิตย์ คณะโต และ นายนิวัตต์ น้อยมณี ว่าหลังจากมีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการในการปฎิรูปการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ ทำให้ “กรมวิชาการ”ถูกยุบเหลือเพียง “กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร” ในสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น จึงทำให้เกิดอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ในส่วนของสาระสำคัญในการร่างพระราชบัญญัติสถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติ พ.ศ. .... มีการเสอนความเห็นในประเด็นดังนี้ ๑. สถาบันเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระในกำกับของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ (non-profit organization)
๒. มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับพื้นฐานของประเทศ บนพื้นฐานความเป็นไทยและได้มาตรฐานระดับสากล โดยดำเนินการผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย จัดทำหลักสูตร และการนำหลักสูตรสู่การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ๓. สถาบันมีต้องมีภารกิจหลักเพื่อศึกษา วิจัย พัฒนาหลักสูตรแกนกลางในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ และศึกษาวิจัย พัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และเครื่องมือการวัดประเมินผลการสอน และติดตามประเมินผลและการใช้หลักสูตร วิเคราะห์ สังเคราะห์ และรายงานผลเพื่อการพัฒนาปรับปรุง เครื่องมือการวัดประเมินผลการสอน เป็นต้น ในส่วนของวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ เป็นการอภิปราย “สรุปสาระสำคัญและ
ร่างคำอธิบายพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒” และวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ เป็นการรับฟังความคิดเห็น “(ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... (ประเด็นเพิ่มเติม)”

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด