สกศ.กำหนดกลไก แนวทางการบูรณาการความร่วมมือโดยการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษา ในระดับพื้นที่ตามกฎหมายการศึกษาและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

image

         เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุม เรื่อง การกำหนดกลไก แนวทางการบูรณาการความร่วมมือโดยการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษา ในระดับพื้นที่ตามกฎหมายการศึกษาและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ณ โรงแรมบรรจงบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

         โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๐๐ คน ได้แก่ ผู้บริหารจังหวัด ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารภาคเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารภาคประชาสังคม นักกฎหมายการศึกษา และบุคลากรของสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และผู้แทนกลุ่มอาชีพ ผู้แทนกลุ่มศาสนา ผู้แทนกลุ่มแรงงาน ผู้แทนกลุ่มอุตสาหกรรมและการค้า พร้อมทั้งภาคประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ โดยในช่วงเช้า (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ )รองเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ เรื่อง การบูรณาการความร่วมมือเพื่อการพัฒนากฎหมายการศึกษาตามแผนปฎิรูปประเทศด้านการศึกษา ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๔ ได้กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษา ๕ ประเด็น คือ ๑. ให้ทุกคนได้รับการเรียนเป็นเวลา ๑๒ ปี (ก่อนวัยเรียน-การศึกษาภาคบังคับ) ๒. การดูแลและพัฒนาเด็กเล็กก่อนเข้ารับการศึกษา
๓. การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลตามความต้องการของประชาชนในระบบต่างๆ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๔. การศึกษาทุกระบบต้องมุ่งพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามความถนัดตน โดยมุ่งพัฒนาให้มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ๕. ให้มีกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับของยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ ในยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่กำหนดให้คนไทยต้องเป็นคนดีคนเก่งมีคุณภาพพร้อมสําหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และสังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต อีกทั้งยังเป็นแนวทางเดียวกันกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา 7 เรื่อง ได้แก่ ๑. การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง ๒. การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ๓. การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๔. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู และอาจารย์ ๕. การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๖. การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ๗. การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform) เป็นต้น

 

        ตลอดทั้งวันเป็นการอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่อง การกำหนดกลไก แนวทางการบูรณาการความร่วมมือโดยการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาในระดับพื้นที่ตามกฎหมายการศึกษาและแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน ๓ ท่าน ได้แก่ ๑. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒. นายสันติภัทร โคจีจุน ศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓. นายอาร์ม วงศ์อำไพพิสิฐ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายวีระ พลอยครบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิ
เป็นวิทยากรดำเนินการประชุมฯ โดยเป็นการอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็นสภาพปัญหาของการจัดการศึกษาและการดำเนินการของเครือข่ายในภาพรวมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีการดำเนินการในลักษณะ “จังหวัดจัดการตัวเอง” โดยมีการขับเคลื่อนการศึกษาในรูปแบบ ๕ กิจกรรม ได้แก่ ๑. การจัดทำฐานข้อมูลด้านการศึกษา ๒. การพัฒนาเด็กด้อยโอกาส เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ๓. การจัดทำโครงการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน (PLC) ๔. การจัดทำหลักสูตรพุทธทาสศึกษา และ ๕. การศึกษาเพื่ออาชีพและการมีงานทำ อีกทั้ง หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้สะท้อนความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ (SUPPLY) ว่า ณ ปัจจุบันผู้ประกอบการต้องการแรงงานสายงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และแรงงานระดับอาชีวะหรือระดับปฏิบัติการต้องการที่มีความรู้ เข้าใจเทคโนโลยีดิจิตอล และความสามารถและศักยภาพ ด้านภาษา ด้านไอที เป็นต้น

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด