สกศ. จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพิจารณาร่างสรุปสาระสำคัญและร่างคำอธิบายรายมาตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ (ฉบับประชาชน) ณ จังหวัดสมุทรสงคราม
เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ (ดร. สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) รองเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมบรรยาย โดยที่สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อพิจารณาร่างสรุปสาระสำคัญและร่างคำอธิบายรายมาตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ (ฉบับประชาชน) ณ บ้านท้ายหาด รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ในช่วงเช้าเป็นการอภิปรายพิจารณาสรุปสาระสำคัญและร่างคำอธิบายรายมาตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ (ฉบับประชาชน) ดำเนินการอภิปรายโดยวิทยากร ๒ ท่าน ได้แก่ ๑. นางธิดา พิทักษ์สินสุข ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเด็กปฐมวัย ๒.นายเนติ รัตนากร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาและวินิจฉัยกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยมีผู้เข้าร่วมจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้แทนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้แทนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้แทนผู้แทนสำนักงานเทศบาล ผู้แทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนสถานศึกษาสังกัด สพฐ. และ ผู้แทนสถานประกอบการ ในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
หลังจากนั้นในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาประเทศ โดย ดร. สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ว่าการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความสำคัญยิ่งนัก เปรียบเสมือนการสร้างตึกสูงที่ต้องมีรากฐานตึกที่มั่นคง โดยรากฐานตึก (เสาเข็ม) ที่อยู่ใต้ดินไม่สามารถมองเห็นได้เปรียบเสมือนเด็กที่อยู่ในครรถ์ของมารดา ตัวตึกเปรียบเสมือนสภาพตึกที่อยู่บนพื้นดินสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เปรียบเสมือนทารกที่คลอดออกมาจากมารดาแล้ว มีสภาพบุคคล กฎหมายนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแนวทางในการดำเนินการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องตามหลักวิชา มีเหมาะสมต่อทุกช่วงวัยและให้การดูแลตั้งแต่ทารกอยู่ในครรถ์ อีกทั้งสอดคล้องกับการพัฒนากำลังคนตามศตวรรตที่ ๒๑
ต่อมาเป็นการแบ่งกลุ่มจำนวน ๖ กลุ่ม เพื่อจัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นของพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนำมาปรับปรุงร่างสรุปสาระสำคัญและคำอธิบายรายมาตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีความเข้าใจในสาระสำคัญและคำอธิบายรายมาตราพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นอย่างดี