สกศ.จัดประชุมคณะทำงานจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานกำรจัดการศึกษาผู้สูงอายุ
เมื่อวันพุธที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ (ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์) เป็นประธานประชุมคณะทำงานจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานการจัดการศึกษาผู้สูงอายุ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ โดยมี (ดร.สุภัทร จำปาทอง) เลขาธิการสภาการศึกษา และ (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) รองเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมด้วย ที่ปรึกษา ผู้แทนหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สกศ.
โดย การประชุมครั้งนี้ผู้แทนจาก กศน. และสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ นำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน ด้านผู้สูงอายุที่ผ่านมาเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยข้อมูลซึ่งกันและกัน จากนั้นคณะทำงานฯ ได้ร่วมกันพิจารณา (ร่าง) มาตรฐานการศึกษาผู้สูงอายุ ให้สามารถนำใช้ไปเป็น กรอบในการปฏิบัติงานได้จริง รายละเอียดดังนี้
มาตรฐานด้านที่ ๑ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีคุณลักษณะ มีความรู้ และมีทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถ ดูแลตนเองได้ และเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ ตัวบ่งชี้ ๑.๑ คุณลักษณะของผู้สงอายุ ๑.๑.๑ มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี ๑.๑.๒ มีสว่นร่วม การช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตอาสา ๑.๒ ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ๑.๒.๑ มีความรู้ในการเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ๑.๒.๒ มีความร็ในการดูแลตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาระของสังคม ๑.๒.๓ มีความรู้และทักษะในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น การสื่อสารในโลกไซเบอร์ ๑.๒.๔ มีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพื่อการประกอบอาชีพ การ พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ การ Reskill Upskill เพื่อดำรงชีวิตได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ๑.๒.๕ มีทักษะด้านสังคม การมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม ๑.๓ ควำมตระหนักสำหรับผู้สูงอำยุ ๑.๓.๑ มีความตระหนักเรื่องการเตรียมความพร้อมในวาระสุดท้ายของชีวิต ๑.๓.๒ การเตรียมตัวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ
๒ มาตรฐานด้านที่ ๒ แนวการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุการจัดการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุ และเป็นไปตามความต้องการของ ผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการเรียนแบบกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดำเนินการจัดการ ศึกษาได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตัวบ่งชี้
๒.๑ รูปแบบ/วิธีการจัดการศึกษา ๒.๑.๑ การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเป็นไปตามหลักการของการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ๒.๑.๒ รูปแบบ/วิธีการจัดการศึกษา ดำเนินการได้อย่างหลากหลายตามความสนใจ/ความ ต้องการของผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็นการเรียนในพื้นที่ของกลุ่ม การเรียนในพื้นที่ตนเอง และการเรียนจากสื่อ สารสนเทศ ๒.๒ หลักสูตรการศึกษาส าหรับผู้สูงอายุ ๒.๒.๑ หลักสูตรการศึกษามีลักษณะเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมหรือการเรียนระยะสั้น สอดคล้องกับความสนใจของผู้สูงอายุ อาทิ หลักสูตรการฝึกอาชีพ หลักสูตรกฎหมายพื้นฐาน หลักสูตรจิตวิทยา ผู้สูงอายุ การเรียนโภชนาการผู้สูงอายุ การดูแลรักษาตนเอง การดูแลสุขภาพตนเอง หลักสูตรด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ๒.๒.๑ การวัดและประเมินผล ควรใช้วิธีการที่หลากหลาย ตามบริบทของผู้สูงอายุ ๒.๓ หน่วยงานที่จัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ ๒.๓.๑ สามารถจัดบริการการศึกษาได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ๒.๓.๒ หน่วยงานที่จัดการศึกษาต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ๒.๓.๓ อาคาร สถานที่ ที่ใช้ในการจัดการศึกษาต้องสะอาด มีความปลอดภัย มีบริเวณสำหรับ ทำกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ต่างๆ มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยและการเกิดอุบัติเหตุ ๒.๔ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม การใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ๒.๔.๑ จัดท าสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับการศึกษาและเรียนรู้ของ ผู้สูงอายุ ๒.๔.๒ ศึกษาวิจัยการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ ที่เหมาะสม เพื่อ ผู้สูงอายุสามารถใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นได้จริง ๒.๕ การวิจัย พัฒนา และการจัดการความรู้ด้านผู้สูงอายุ ๒.๕.๑ จัดทำคลังปัญญา ธนาคารคลังสมอง เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาและความเชี่ยวชาญของ ผู้สูงอายุ ๒.๕.๒ ศึกษาวิจัยและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อ ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการดำเนินการด้านผู้สูงอายุและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
๓ มาตรฐานด้านที่ ๓ การสร้างสภาพแวดล้อม/สังคมแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ส าหรับ ผู้สูงอายุ ตลอดจนแหล่งการเรียนรู้ การส่งเสริม และสร้างกลไกเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสและทางเลือกที่จะ เข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม
ตัวบ่งชี้ ๓.๑ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาและหน่วยงานที่ดำเนินงานผู้สูงอายุ ทั้งภาครัฐและเอกชน ๓.๑.๑ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ร่วมมือกันให้บริการทาง วิชาการและการด าเนินงานอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้สูงอายุในการพัฒนาตนเอง ๓.๒ การส่งเสริม สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ส าหรับผู้สูงอายุ ๓.๒.๑ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทางกายภาพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้เหมาะสมเอื้อ สำหรับการศึกษาและเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ๓.๓ การสร้างกลไกการจัดการศึกษาและการเรียนรู้แนวใหม่เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ ๓.๓.๑ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ดิจิทัล และ เครือข่ายสังคม รูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เอื้อให้ผู้สูงอายุได้มี โอกาสและทางเลือกที่หลากหลายในการศึกษาและการเรียนรู้ ๓.๓.๒ ส่งเสริม สนับสนุน การเปิดเวทีสาธารณะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุด้วยกันหรือผู้สูงอายุกับช่วงวัยอื่น เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะน า (ร่าง) มาตรฐานการจัดการศึกษาผู้สูงอายุไปประชา พิจารณ์รับฟังความคิดเห็นในวงกว้างจากหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วนำข้อคิดเห็นดังกล่าวมา ประกอบการจัดทำเป็นมาตรฐานการจัดการศึกษาผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์ต่อไป โดยสำนักงานฯ ขออาสาเป็นเวที กลางสำหรับผู้ประสงค์จัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเข้ามาพูดคุยกันว่าจะใช้แนวทางใดบ้างเพื่อการันตีให้ได้ว่า ในที่สุดผู้สูงอายุจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในการดำรงชีวิตของตน