สกศ. หนุน ศธจ. ภาค 16 เดินหน้าขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิตให้เป็นรูปธรรม

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ดร.นิติ นาชิต รองเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นวิทยากรการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ตามโครงการ Innovation For Thai Education (TFTE) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา โดยความร่วมมือกับสำนักงานศึกษาธิการภาค 16 จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของจังหวัดเชียงราย แพร่ พะเยา และน่าน พร้อมด้วยบุคลากรสำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบธนาคารหน่วยกิต ตามโครงการ IFTE ในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาแบบร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และ ดร. ปัทมา วีระวานิช นายกสถาบันภาคกลาง 4 ได้บรรยายเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบธนาคารหน่วยกิตภาพรวมที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา การศึกษาสำกรับบุคคลทุกกลุ่มทุกช่วงวัย สภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น หลักการสำคัญของระบบธนาคารหน่วยกิต รวมถึงกรณีศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์รายวิชา รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร Micro Credential เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินกงานได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ดร.นิติ บรรยายแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารหน่วยกิตของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของพื้นที่ ซึ่งการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิตต้องบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิต 5 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่ 1 รูปแบบการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างหลักสูตรในระดับเดี่ยวกัน (ขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษา) สามารถทำได้ทันที ตามระเบียบของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัด
รูปแบบที่ 2 รูปแบบการเก็บสะสมหน่วยกิตในระบบธนาคารหน่วยกิตแบบไม่มีชั้นเรียน 100% สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์จะเรียนในระบบ
รูปแบบที่ 3 รูปแบบการเก็บสะสมหน่วยกิตการศึกษานระบบ โดยการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงกับหลักสูตรในระดับที่สูงกว่า
รูปแบบที่ 4 รูปแบบการเก็บสะสมหน่วยกิตคู่ขนาน (Pre Degree) ระหว่างหลักสูตรที่กำลังศึกษากับหลักสูตรในระดับที่สูงกกว่า เรียนล่วงหน้า ม.ต้นคู่ขนาน ม.ปลาย
รูปแบบที่ 5 รูปแบบการแปลงประสบการณ์อาชีพเป็นสมรรถนะและหน่วยกิตตามระดับคุณวุฒิแห่งชาติ โดยการแปลงสมรรถนะแล้วนำมาเทียบหน่วยกิต
การขับเคลื่อนงานธนาคารหน่วยกิตและการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อนำผลลัพธ์การเรียนรู้ไปสะสมและเทียบโอนในระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับพื้นที่ จำเป็นต้องใช้กลไกของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานและจัดทำฐานข้อมูลของหน่วยงานที่จัดการศึกษาในจังหวัด รวมถึงการเป็นหน่วยงานในการประสานติดตามการดำเนินงานของธนาคารหน่วยกิตระดับสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือและบังเกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

