สกศ. เดินหน้าศึกษา Learning City ยะลา เมืองรักสิ่งแวดล้อม ที่ไร้ขีดจำกัดแห่งการเรียนรู้ของทุกเพศทุกวัย

image

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 สกศ. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการขับเคลื่อนแผนการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทย 4.0 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ภาคใต้ ณ TK Park จังหวัดยะลา โดยมี นางโชติกา วรรณบุรี ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ นำทีม  ซึ่งนายศุภวิทช์ สุวรรณมณี ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา  นางธิปัตยา คงสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำนักการศึกษาเทศบาลยะลา นางสาววธนัน ถ้วนถวิล ผู้จัดการอุทยาการเรียนรู้ยะลา และทีมงานร่วมให้ข้อมูล

จังหวัดยะลา เป็นหนึ่งใน 10 จังหวัดของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศรับรองจากยูเนสโกให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ มีความเป็นพหุวัฒนธรรม มีวิสัยทัศน์ที่ว่า เป็นเมืองไร้ขีดจำกัดแห่งการเรียนรู้ของทุกเพศทุกวัย ทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่ จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  เมืองแห่งสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ยะลาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองจึงมี สภาประชาชน เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งออนไซต์และออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละครั้งกว่า 2,000 คน  ทุกเดือนยังมีการจัดกิจกรรมสภากาแฟ เพื่อสำรวจความต้องการของคนในพื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ประชาชนมีความสนใจ และเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้อย่างไรขีดจำกัด จึงมีการกระจายจุดติดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั่วทุกเขตเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Book ถึงบ้าน บริการหนังสือส่งให้ถึงบ้านประชาชน เพื่อส่งเสริมการศึกษาที่ไร้ขีดจำกัดด้านเวลาและสถานที่ ด้านการติดต่อสื่อสาร เทศบาลยะลาจัดทำ Yala Mobile Application เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อสื่อสาร รวมถึงได้รับทราบข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เทศบาลจะจัดขึ้นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  ยะลายังมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองยะลา สวนน้ำเทศบาล TK park ยะลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของประชาชนทุกช่วงวัย ภายในมีโซนต่าง ๆ เช่น ห้องสมุดมีชีวิต โซนเด็ก มุมอินเทอร์เน็ตบริการสารสนเทศที่ทันสมัย ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องละหมาด รวมถึงเวทีที่ประชาชนสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ด้านศิลปวัฒนธรรมยังมีการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยดึงจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นมาใช้ เช่น ส่งเสริมการใช้ผ้าปากายัน เป็นผ้าท้องถิ่นไทย มลายู อินโด และต่อยอดโดยจัดงานให้ดีไซเนอร์ไทยและต่างประเทศออกแบบและจัดงานแฟชั่นโชว์ 

สกศ. จะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่มาสรุปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตเสนอต่อที่ประชุมกรรมการสภาการศึกษาต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด