สกศ. ร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมัยที่ 65 ของสมาคมประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานานาชาติ ณ ประเทศจอร์เจีย

image

ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 3 ตุลาคม 2567 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ศศิรัศม์ วีระไวทยะ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (Thailand GA Representative Member)พร้อมด้วยนางสาวอรวิภา รุ่มโรย ข้าราชการสำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมัยที่ 65 ของสมาคมประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานานาชาติ (The 65th General Assembly of the International Association for the Evaluation of Education Achievement : IEA) ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย

The International Association for the Evaluation of Education Achievement (IEA) หรือ สมาคมประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานานาชาติ (IEA) จัดการประชุมสมัยสามัญขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการ กิจกรรมการบริหารงานโครงการที่สำคัญ และสถานะทางการเงินของสมาคมฯ ในรอบปีที่ผ่านมา ตลอดจนการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานที่สำคัญในปีถัดไป ต่อคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก การประชุมสามัญประจำปียังเป็นโอกาสให้ผู้แทนจากประเทศสมาชิกได้พบปะหารือกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสมาชิกในทุก ๆ ปี ติดตามการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวกับการประเมินต่าง ๆ และประเด็นสำคัญทางการศึกษาที่เป็นฉันทามติในระดับโลก ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ ได้พบปะหารือและสร้างเครือข่ายระหว่างกัน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะสมาชิกของ IEA ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 ที่มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในปัจจุบัน) เป็นศูนย์กลางแห่งชาติของสมาคมนานาชาติเพื่อการประเมินสัมฤทธิผลทางการศึกษา โดยมีเลขาธิการสภาการศึกษาในฐานะผู้แทนประเทศไทย (IEA General Assembly Thailand Representative : GA) ในการเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯ เป็นประจำทุกปี ทำหน้าที่รักษาสมาชิกภาพของประเทศไทยในสมาคมฯ และสนับสนุนหน่วยงานด้านการศึกษาของไทยในการเข้าร่วมโครงการประเมินสัมฤทธิผลของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ  โดยในการประชุมสามัญประจำปีแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนประมาณ 150 คน จาก 60 ประเทศ และ 7 องค์กรระหว่างประเทศ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารสมาคม (Standing Committee) ผู้แทนประเทศสมาชิก (GA) ผู้แทนประเทศในส่วนของผู้สังเกตการณ์ หัวหน้าโครงการวิจัยนานาชาติ และ เจ้าหน้าที่สมาคมฯ

สาระสำคัญในการประชุม ประกอบด้วย การแนะนำอนุกรรมการเพื่อวางแผนทางกลยุทธ์ นโยบาย หรือช่วยกำหนดทิศทางการบริหารงานของคณะกรรมการสมาคม และการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ผลการเข้าเยี่ยมคารวะ และงานวิจัย รวมถึงการรายงานผลและการเผยแพร่ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานานาชาติ ซึ่งในส่วนของการดำเนินการหลักของ IEA ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ โครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ (Trends in International Mathematics and Science Study: TIMSS) โครงการศึกษาด้านทักษะการอ่านระดับนานาชาติ (Progress in International Reading Literacy Study: PIRLS) โครงการศึกษาเรื่องความเป็นพลเมือง (International Civic and Citizenship Education Study: ICCS) และโครงการศึกษาระดับนานาชาติว่าด้วยการฉลาดรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (International Computer and Information Literacy Study: ICILS) นอกจากนั้น IEA ยังมีการทำงานร่วมกับ OECD ผลการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) และ UNESCO ในประเด็นที่เป็น Global Trends ต่าง ๆ  เช่น โครงการปัญญาประดิษฐ์และอนาคตของการเรียนรู้ (The Artificial Intelligence and the Futures of Learning Project) และความเสมอภาคและการมีส่วนร่วมทางการศึกษา โดยยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensuring Greater Equity and Inclusion in Education) 

นอกจากนั้น ยังมีการนำเสนอรายชื่อโครงการประเมินผลสัมฤทธิที่ร่วมดำเนินการกับองค์กรนานาชาติอื่นและอยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมใข้อมูลการสำรวจและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน อาทิ โครงการ OECD TALIS : Teaching and Learning International Survey 2024 โครงการ OECD PIAAC : Programme for International Assessment of Adult Competencies , Cycle2 โครงการ  OECD IELS : International Early Learning and Child Well-being Study2024 โครงการ UNICEF LSCE : : Life skills and Citizenship Education โครงการ Monitoring of Education Standards : National Assessment Study 2024 และ โครงการ PISA Programme for International Student Assessment : Field Trial 2024 เป็นต้น

ในการประชุมสมาคมฯ สมัยที่ 65 นี้ ยังมุ่งเน้นในประเด็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคการศึกษา (AI in Education) โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งาน AI ในโรงเรียนระหว่างประเทศสมาชิก วิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ AI คำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ รวมถึงการใช้ AI ในการช่วยประเมินผลสัมฤทธ์ทางการศึกษาในห้วงปัจจุบันและการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต รวมทั้งมีการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง  School bullying : prevalence and variation in and between school systems in TIMSS 2015 

ในปี 2024 Dr. Thierry Rocher ประธานคณะกรรมการ (IEA Chair) และผู้แทนจากประเทศฝรั่งเศส ได้หมดวาระ ภายหลังจากการได้รับเลือกตั้งเมื่อครั้งการประชุมสมัยที่ 59 และคณะกรรมการยังได้เสนอชื่อและรับรองการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ (Honorary Member of IEA Committee) ทั้งนี้ Dr. Christian Christrup Kjeldsen ผู้แทนจากประเทศเดนมาร์ก ได้รับเลือกเป็นประธาน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี

นอกจากนี้ Dr. Andrea Netten ผู้อำนวยการสมาคม IEA ประจำกรุงอัมสเตอร์ดัม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และ Ms.Mar Puigbert Moreno เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญฝ่ายประชาสัมพันธ์และพิธีการ ได้เข้าพบเพื่อหารือกับคณะผู้แทนไทย ถึงความเป็นไปได้ในการเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (Host) ในการจัดประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติของสมาคมฯ ประจำปี พ.ศ. 2570 (IEA International Research Conference 2027: IEA IRC2027) ซึ่งจัดประชุมทุก ๆ 2 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้แก่นักวิจัยในเครือข่ายของ IEA นักวิชาการศึกษา คณาจารย์ และผู้จัดทำนโยบายของภาครัฐจากทั่วโลก ร่วมนำเสนอผลงานการวิจัยด้านการศึกษาและอภิปรายข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาการศึกษาระดับนานาชาติ โดยทั่วไป IEA IRC จะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200–300 คน โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักวิจัย นักปฏิบัติ และผู้แทนหน่วยงานที่ยกร่างนโยบายด้านการศึกษาที่สนใจและใช้ข้อมูลของ IEA เพื่อประกอบการทำการวิจัยและยกร่างนโยบายการศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด