สมร. ล่องใต้ หนุนกลไกเรียนรู้เชิงพื้นที่ ที่จัดตั้งล่าสุด! "สมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา" สำรวจ Learning Ecosystem ย่านสร้างสรรค์เมืองเก่าสงขลา

image

วันที่ 23 กันยายน 2567 สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (สมร.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาและร่วมจัดประชุมการพัฒนากลไกการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของประชาชนระดับจังหวัด โดย ดร.ประวีณา อัสโย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ นางนรินทร์รัชต์ สีแก้วน้ำใส รองศึกษาธิการจังหวัดสงขลา รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง สมาคมอาสาสร้างสุข คณะกรรมการสมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา ผู้แทนจากหน่วยงานด้านการศึกษา และข้าราชการ สมร. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา 

จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดล่าสุดที่มีการจัดตั้งกลไกการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ภายใต้ชื่อสมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสมัชชาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 และมีคำสั่งปรับปรุงคณะกรรมการฯ ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน2567 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย  คณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และคณะกรรมการขับเคลื่อนสมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา ซึ่งมี ดร.กมล รอดคล้าย เป็นประะธาน 

สมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลามีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย สำรวจและป้องกันเด็กหลุดจากระบบการศึกษา พัฒนาผู้เรียนที่ด้อยโอกาสและออกกลางคันให้มีทักษะอาชีพในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น ดูแลสุขภาพจิตในวัยเรียน ครอบคลุมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเยาวชน ทั้งการให้ความช่วยเหลือน้องนักเรียนที่มีภาวะออทิสติก การลดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 


 

ที่ประชุมฯ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดประเด็นขับเคลื่อนงานของสมัชชาการศึกษาจังหวัดสงขลา เบื้องต้นพบว่า มีเด็กหลุดจากระบบทั้งจากผู้ด้อยโอกาส ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตลอดจนผู้ที่ประสงค์ออกขอจากระบบการศึกษาเนื่องจากสนใจการเรียนรู้รูปแบบบ้านเรียน (Home School) หรือรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและภาคีการศึกษาจะต้องเร่งสำรวจสถานการณ์เพื่อพัฒนาการศึกษาให้ตอบโจทย์ผู้เรียนในปัจจุบัน อีกทั้งยังเห็นว่า ควรมีการรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลเยาวชน (Big Data) เพื่อนำไปอ้างอิงในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูดสุดต่อไป 

นอกจากประเด็นปัญหา ที่ประชุมฯ ยังได้แบ่งปันข้อมูลความพร้อมด้านการศึกษาของจังหวัดสงขลา เพื่อนำไปต่อยอดงานของสมัชชาการศึกษาจังหวัดฯ ทั้งจากความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ที่อำเภอหาดใหญ่ได้รับการคัดเลือกเป็นเครือข่ายของยูเนสโก มีแหล่งเรียนรู้มากมายทั้ง TK Park และ PSU Science Park มีการส่งเสริมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ขับเคลื่อนการจัดการศึกษา1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ที่ช่วยลดเด็กหลุดจากระบบ (Thailand Zero Dropout) โดยใช้ฐานคิดการทำงานที่รับฟังเสียงจากผู้ปฏิบัติด้วยความเชื่อว่าชุมชนจะเป็นผู้สร้างการศึกษาและขับเคลื่อนสมัชชาการศึกษาที่ตอบโจทย์เมืองสงขลาได้ดีที่สุด 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด