สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา รับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จากผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ณ จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 15 - 16 สิงหาคม 2567 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา โดยสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ณ โรงแรมภูวนาลี รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 15 สิงหาคม2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา ได้ให้เกียรติเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมที่ได้สละเวลามาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยมีนายเนติ รัตนากร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา กล่าวรายงาน
ต่อมาได้มีการอภิปรายในหัวข้อ แนวทางการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2542 และรับฟังความคิดเห็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสวัสดิ์ ภู่ทอง อดีตผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ นายเฉลิมชนม์ แน่นหนา อดีตผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ นายวีระ พลอยครบุรี อดีตผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นายอาทร ทองสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ได้มีการอภิปรายและรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... รวมทั้งซักถาม สรุปผลการประชุม ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสวัสดิ์ ภู่ทอง อดีตผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ นายเฉลิมชนม์ แน่นหนา อดีตผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ นายวีระ พลอยครบุรี อดีตผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นายอาทร ทองสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายการศึกษา นายเนติ รัตนากร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ก่อนที่จะเสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป