สกศ. ร่วมจัดทำ Roadmap การพัฒนา Green Workforce และ Micro-Credential for Green Skills

image

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 เลขาธิการสภาการศึกษา มอบหมายให้ ดร.กาญจนา หงษ์รัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สำนักกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ร่วมเป็นวิทยากรร่วมนำเสนอ “องค์ความรู้และบทเรียนความสำเร็จในการใช้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) ระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System) และ Micro-credentials มาใช้ในการพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยมุ่งเน้นสนับสนุนการพัฒนาทักษะสีเขียว (Green Skills)”  ในการประชุม Workshop on Green Workforce Development Roadmap ในวันที่ 9 – 10  กรกฎาคม 2567 และการประชุม Workshop on Developing Micro-Credential for Green Skills ในวันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2567 ณ กะช่องฮิลส์ เต็นท์ 
รีสอร์ท ตรัง จังหวัดตรัง จัดโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 

ในการประชุมครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนที่สำคัญ 2 แผน ได้แก่ Green Workforce Development Roadmap และ Micro-Credentials for Green Skills Roadmap โดยมีผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNESCO, UNESCO-UNEVOC, KENAN, ADB, สถานทูตออสเตรเลียในไทย หน่วยงานผลิตและพัฒนากำลังคนในประเทศไทย เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา และสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาเข้าร่วมการประชุม

การดำเนินการดังกล่าวในการพัฒนาทักษะสีเขียว รวมถึงการพัฒนาระบบ Micro-Credential ของประเทศที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้กำลังคนมีทักษะ (new skill) ยกระดับทักษะ (upskill) หรือทักษะใหม่ (reskill) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะที่สำคัญเพื่อรองรับการเติบโตและการจ้างงานในอาชีพและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อรองรับ Green Workforce ในอนาคต

การพัฒนาการอาชีวศึกษาของไทยทำให้เกิด Green TVET หรือการศึกษา/ฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาได้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ส่วน คือ 1) การวางแผนและเตรียมดำเนินการ (Institutional Planning and Culture) 2) หลักสูตรและการเรียนการสอน (Curriculum and Pedagogy) 3) การพัฒนาครูและบุคลากร (Teacher and Trainers’ Professional) 4) การจัดตั้งสถาบันการศึกษาและการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Campus and Learning Environment) 5) การพัฒนาชุมชนสีเขียว สถานที่ทำงานสีเขียว และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Greening for the Community, Workplace and Lifelong Learning) และ 6) การวิจัยเชิงนวัตกรรมและองค์กร (Research Innovation and Enterprise)

ในการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา สกศ. ได้ร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการนำ NQF, AQRF และ National Credit Bank System ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ Micro-Credentials มาขับเคลื่อนงานให้เป็นรูปธรรมในการพัฒนาหลักสูตร ทั้งหลักสูตรการเรียนการสอนและหลักสูตรฝึกอบรมให้มีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ โดยการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ในอนาคตที่มีความยืดหยุ่น มีช่องทางและรูปแบบที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นให้ทุกการเรียนรู้ ที่เป็น Micro-Credentials ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จนเกิด skill set รวมถึงประสบการณ์ที่ได้รับการประเมินแล้ว สามารถสะสมและเทียบโอน เพื่อให้ได้รับคุณวุฒิการศึกษาได้

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด