สกศ.ประชุมเข้มนัดแรกคณะทำงานฯ วางกรอบทิศทางวิจัยสู่การพัฒนาการศึกษาของชาติ

image

วันที่ 27 มิถุนายน 2567 ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา มอบหมายให้ นางสาวรุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำกรอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2567 - 2570 โดยมี คณะทำงานพิจารณากรอบทิศทางการวิจัยฯ และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น 2 อาคาร 2 สกศ.

ที่ประชุมร่วมรับฟังคำสั่งคณะทำงานจัดทำกรอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2567 – 2570 ในรายละเอียดขององค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ สำหรับองค์ประกอบนั้น มีดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธาน และประกอบไปด้วยคณะทำงานที่มาจากภายในสำนักงานฯ สำนักวิชาการหลากหลายสำนัก เพื่อเชื่อมโยงการทำงานและการวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจน และมีอำนาจหน้าที่ในการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ แนวโน้มทิศทางการทำวิจัยทางการศึกษาของประเทศและต่างประเทศ รวมถึงรวบรวมข้อมูลความต้องการ ประเด็นปัญหา และเป้าหมายทางการศึกษาที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ 

จากนั้นร่วมกันพิจารณา ใน 3 เรื่อง ดังนี้ เรื่องที่ 1 แผนการดำเนินงานของคณะทำงานจัดทำกรอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2567 – 2570 ซึ่งมีรายละเอียดการดำเนินงาน คือ การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาของไทย การรับฟังความคิดเห็นและเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา การจัดทำ(ร่าง)กรอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2567 – 2570 โดยมีช่วงระยะเวลาการดำเนินงานในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน 2567 เรื่องที่ 2 (ร่าง) เค้าโครงกรอบทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2567 – 2570 โดยมีสาระสำคัญ 5 บท เกี่ยวกับความเป็นมา วิธีการดำเนินงาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ 3 (ร่าง) เค้าโครงแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาของไทย โดยมี 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.ด้านสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาของไทย 2.ทิศทางการจัดการศึกษาของไทย สำหรับสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษามีผลการจัดการศึกษาตามเป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2567 ในระยะ 5 ปีแรกของแผน (2560 – 2564) ตามตัวชี้วัดเป้าหมาย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านการเมืองและสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์ 18 ตัวชี้วัด จาก 52 ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพการศึกษา การตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลงการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา และตัวชี้วัดที่ยังไม่สามารถบรรลุตามเกณฑ์เป้าหมายได้ คือตัวชี้วัดด้านความเท่าเทียมทางการศึกษา ในส่วนทิศทางจัดการศึกษาของไทย ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา เพื่อเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชนผ่านการสร้างรายได้ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 - 2570) ในมิติ ประเทศไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนี่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาการศึกษา ข้อมูลงานวิจัยทางการศึกษาของสำนักงานฯในปี 2564 – 2567 รวมถึงสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาในระดับนานาชาติ 

สำหรับข้อหารือและแนวทางการพิจารณาการดำเนินงานที่มีข้อเสนอแนะที่มีการปรับข้อมูลเพิ่มเติม จะนำไปปรับปรุงในประเด็นที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อการดำเนินงานของคณะทำงานทิศทางการวิจัยทางการศึกษาของชาติ พ.ศ 2567 – 2570 ชัดเจนป็นรูปธรรมและนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาของประเทศทัดเทียมนานาชาติต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด