สกศ. เยือนถิ่นพระร่วง ไขรหัสสร้างสุโขทัยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ของทุกช่วงวัย ด้วย Creative and Cultural Economy
วันที่ 11 มิถุนายน 2567 สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (สมร.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ลงพื้นที่ศึกษา “สุโขทัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities - GNLC) ” โดยมี ดร.ประวีณา อัสโย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ นางสาวกรกมล จึงสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สมร. ผศ.ดร.กอบสุข คงมนัส อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และทีม สมร. ร่วมศึกษาการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้จากวิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.สุโขทัย) และ วิทยาลัยใต้ถุนบ้าน ณ จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จาก UNESCO เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 โดย อพท. สุโขทัย เป็นองค์กรหลักร่วมขับเคลื่อนงานกับองค์กรอื่น ๆ ในพื้นที่ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ มีผู้แทนองค์กรให้เกียรติมาร่วมนำเสนอข้อมูล ได้แก่ พันเอก นาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร พร้อมด้วย ผศ.ดร.เกษร เอมโอด ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวิทย์ อินต๊ะปัญญา ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย นางนงนุช พันธ์จุ้ย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย นางสาวนภาพร อ้นทอง วิทยากร วิทยาลัยใต้ถุนบ้าน และผู้แทนหน่วยงานการศึกษาจังหวัดในพื้นที่
จุดเด่นของจังหวัดสุโขทัย คือได้รับการรับรองเป็น 4 เครือข่ายเมือง UNESCO ได้แก่ เมืองมรดกโลก มรดกความทรงจำแห่งโลก เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) และ เมืองแห่งการเรียนรู้ ทำให้มีหน่วยงานทั้งในและนอกประเทศเข้ามาร่วมสนับสนุน นำไปสู่การผสานองค์ความรู้และบูรณาการงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน ภายใต้แนวคิดขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์สู่การเรียนรู้ทุกช่วงวัย
นอกจากนี้ยังมีการนำ “แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และเชิงวัฒนธรรม (Creative and Cultural Economy)” มาเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ประเพณี หัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน เพื่อเพิ่มมูลค่าจากการผลิตสินค้าร่วมสมัย พร้อมสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และจัดอบรมต่าง ๆ อาทิ
วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย
สืบสานนาฏศิลป์-ระบำสุโขทัยดั้งเดิม มาต่อยอดเป็นทุนทางวัฒนธรรม มาสร้างสรรค์ชุดการแสดงเผยแพร่ในงานต่าง ๆ เช่น ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ การประชุมครั้งสำคัญระดับชาติ เป็นทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรม และสร้างรายได้เสริมให้กับนักเรียน
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
สุโขทัยมีฮีโร่นักมวยเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก ทำให้กีฬามวยได้รับความนิยมและมีชาวต่างชาติสนใจเรียนรู้ ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้เปิดคอร์สอบรมระยะสั้น และนำความสนุกของการเล่นกีฬามา จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุอีกด้วย
สำนักงาน อพท. สุโขทัย
ร่วมกับศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัยจัดหลักสูตรสุโขทัยเมืองสร้างสรรค์ เปิดสอนหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ใน 9 สถานศึกษาแกนนำ ถอดบทเรียนชุมชนและใช้ AI สกศ. เยือนถิ่นพระร่วง ไขรหัสสร้างสุโขทัยสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ของทุกช่วงวัย ด้วย Creative and Cultural Economy
จากนี้ ทีม สมร. จะถอดบทเรียน และแนวทางขับเคลื่อน Learning City เพื่อขยายผลต่อไปยังพื้นที่อื่น ๆ ให้ประเทศไทยเต็มไปด้วยพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับคนทุกช่วงวัยได้อย่างแท้จริง