สกศ. เดินหน้าติดตามผล Case Study พื้นที่นวัตกรรม เล็งต่อยอด Model ตอบโจทย์บริบทภูมิภาค

image

วันที่ 19 เมษายน 2567 สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมคณะทำงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายเหมพงศ์ ทวีกาญจน์ เป็นประธาน  พร้อมด้วย นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา คณะทำงานฯ ข้าราชการและบุคลากร สกศ. ร่วมประชุม ณ ห้องกำแหง พลางกูร ชั้น 3 อาคาร 56 ปี สกศ. ควบคู่กับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Cisco WebEx

ที่ประชุมร่วมพิจารณา (ร่าง) บทวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 กรณีศึกษาจังหวัดสตูล จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยงานและสถานศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย พบว่า มีปัจจัยความสำเร็จ คือ บุคลากรมีความรู้ความสามารถ และการบริหารจัดการที่เป็นระบบ แต่ยังมีอุปสรรคด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านการปฏิบัติหน้าที่ สภาพแวดล้อม และความร่วมมือ จึงได้วิเคราะห์ข้อมูลจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ผู้เกี่ยวข้องด้านการศึกษาทุกฝ่ายควรปรับหรือเพิ่มบทบาทการทำงานเชิงรุก รวมถึงการทบทวนประเด็นการใช้คะแนน O-NET เป็นข้อมูลคำนวณตัวชี้วัดเป้าหมายของแผนการศึกษาชาติด้านคุณภาพการศึกษา การจัดสรรงบประมาณประจำปีแก่สถานศึกษาอย่างเพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรมในการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนการกระจายอำนาจบริหารจัดการสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมหารือและวางแผนต่อเนื่องถึงการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลกรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ เกี่ยวกับการบูรณาการความร่วมมือเพื่อติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาของประเทศ ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีความโดดเด่นหลากหลาย เล็งเก็บข้อมูลสภาพการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ รวมถึงวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เช่น หลักสูตรสถานศึกษา การบริหารจัดการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพื้นที่และตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อนำไปต่อยอด ขยายผล สู่การสร้างเป็นโมเดลต้นแบบให้พื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงต่อไป

จากนั้นที่ประชุมร่วมพิจารณา แบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการศึกษาชาติ ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งวางขอบเขตการเก็บข้อมูลเบื้องต้น 6 ประเด็น ได้แก่ 1) โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 2) คุณภาพการศึกษา 3) ประสิทธิภาพ 4) การตอบโจทย์บริบทการเปลี่ยนแปลง 5) การปฏิบัติที่เป็นเลิศ และ 6) ข้อเสนอแนะ โดยครอบคลุมระดับ/ประเภทการศึกษาตั้งแต่ก่อนประถมจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้หน่วยงานด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยใช้เป็นแนวทางในการจัดเตรียมข้อมูล 

ทั้งนี้ สกศ. จะติดตามการดำเนินงาน การประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการศึกษาตามแผนฯ อันจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะและการพัฒนาการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ในระยะต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด