สกศ. ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ ธนาคารปูม้าบ้านใต้ เรือธงดึงชุมชนสร้าง Learning Ecosystem แบบครบวงจร ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

image

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (สมร.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  ลงพื้นที่ ✨ โครงการติดตามผลและจัดทำแผน

ขับเคลื่อนการนำรูปแบบการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทย 4.0 สู่การปฏิบัติ  โดยมี นางสาวกรกมล จึงสำราญ • ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สมร. นำทีมบุคลากร ✨ เก็บข้อมูลการขับเคลื่อน Learning Ecosystem ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน ณ ธนาคารปูม้าบ้านใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยมี นายพิทักษ์ พรหมจันทร์ รองประธาน ธนาคารปูม้าบ้านใต้ และเครือข่ายชุมชน ร่วมเป็นวิทยากรและนำลงพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่น

 


ธนาคารปูม้าบ้านใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี •ได้รับการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ •  เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนพื้นฐานของความยั่งยืนของทรัพยากรในพื้นที่เกาะสมุยโดยชุมชนตกลงกันว่าจะทำที่พักพิงให้แก่แม่ปูครรภ์แก่ เพื่อดูแลให้รอดพ้นจากการนำไปขาย • ตลอด 5 ปีที่เริ่มดำเนินการสามารถอนุบาลปูม้าไข่นอกกระดอง และปล่อยคืนสู่ท้องทะเลอ่าวไทยได้มากกว่าแสนตัว 
ปัจจุบันได้ต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้และมีการทดลองเพาะพันธุ์ปลาทับทิมทะเล ~ สาหร่ายพวงองุ่น  โดยเปิดให้นักเรียน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มาศึกษาดูงานและร่วมกันปล่อยลูกปูม้าเพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล


นายพิทักษ์ พรหมจันทร์ รองประธานธนาคารปูม้าบ้านใต้ และเครือข่ายชุมชน  ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้วยความภาคภูมิใจว่า  วันนี้ความตั้งใจที่อยากให้ธนาคารปูม้าบ้านใต้เป็น "เรือธง (Flagship)" ที่ผสานองค์ความรู้ • ภูมิปัญญา • วัฒนธรรม นำรายได้และความเจริญก้าวหน้ากลับมาพัฒนาชุมชนบ้านใต้ได้สำเร็จแล้ว หากเปรียบเป็นเรือก็เริ่มจาก 
เรือประมง • ของชาวเลและคนในชุมชนที่มาร่วมกันอนุรักษ์ปูม้าส่งต่อถึงลูกหลานที่เข้ามาร่วมเรียนรู้
เรือสำราญ • เปรียบเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่นำรายได้สู่ชุมชนให้คนทุกกลุ่ม  ทั้งชาวประมง มัคคุเทศก์ท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้านจักสาน ร้านอาหาร •  ปัจจุบันมีโรงแรมหลายแห่งชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมเรียนรู้ และนำผลที่ได้ไปใช้ประเมินโรงแรมให้ผ่านมาตรฐานการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย 
เรือพระ • ธนาคารปูม้าฯ ชวนกลุ่มจักสาน  ให้มาร่วมสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้านจากใบตาล ซึ่งในช่วงนี้ได้รวมกลุ่มกันที่วัดศรีสุวรรณาราม (วัดแหลมหอย) ชวนชุมชนและนักเรียนมาร่วมฝึกจักสานเพื่อนำมาประดับเรือพระในประเพณีชักพระ เป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

ทีม สมร. ได้พูดคุยและเห็นถึงปัจจัยความสำเร็จคือ  ทีมธนาคารปูม้าบ้านใต้และเครือข่ายนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะอาชีพชาวประมง แต่มีทั้งครู นักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า พนักงานโรงแรม ผลัดเวรกันมาร่วมสานต่อกิจกรรม    สิ่งเหล่านี้สะท้อนผลลัพธ์ของการมีระบบการเรียนรู้ที่ครบวงจร ทั้งชุมชน • ครู นักเรียน ผู้ปกครอง • สถานศึกษา • ที่สามารถต่อยอดเป็นโมเดลสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป.

 

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด