อนุ กกส. คณะ 5 ชี้ทิศการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษา 67 ขยายผล ต่อยอดโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

image

วันที่ 26 ก.ย.2566 นายธนู ขวัญเดช รองเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา คณะที่ 5 ด้านมาตรฐานการศึกษา ครั้งที่ 5/2566 โดยมี นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เป็นประธานคณะอนุกรรมการ พร้อมด้วย นางประวีณา  อัสโย ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ คณะอนุกรรมการฯ คณะผู้วิจัยจากศูนย์วิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU Smart Learning)  ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมหารือ ณ ห้องประชุมสิปปนนท์ เกตุทัต ชั้น 2 อาคาร 2 สกศ. ควบคู่กับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Cisco WebEx

คณะอนุกรรมการฯ ร่วมรับฟังรายงานผลการวิจัย เรื่อง รูปแบบและนวัตกรรมการเรียนรู้แบบสมาร์ตสำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในสภาพแวดล้อมดิจิทัลฯซึ่งเป็นการพัฒนา Digital Platform 5 Platform ประกอบด้วย (1) Digital Learning Platform 3  รายวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ที่ครูสามารถนำไปใช้สอนทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์โดยนักเรียนระดับชั้น ม.1-3 สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมได้ (2) Digital Training Platform สำหรับพัฒนาสมรรถนะครู และ (3) Digital Testing Platform สำหรับสอบวัดสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียน 

โดยที่ประชุมร่วมกันพิจารณาเพื่อต่อยอดงานวิจัยสำหรับพัฒนาครูในสถานศึกษา โดยเสนอปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือ  อาศัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และกลไกการเปิดชั้นเรียน และการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและครูสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การนำร่องในพื้นที่เพื่อขยายผลต่อในบริบทที่เหมาะสมเพื่อนำผลมาจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย

ในประเด็นการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติ ปีงบประมาณ 2567 ควรเริ่มจากการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ระดับหน่วยงานต้นสังกัด ด้วยการฉายภาพ  Road map การขับเคลื่อน ใช้ข้อมูลการวิจัยและข้อเสนอเชิงนโยบายเป็นฐาน มีบูรณาการกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่ สร้างความร่วมมือในการทำงาน มีการจำแนกกลุ่มเป้าหมาย ระบุความต้องการของพื้นที่ให้ชัดเจน และนำนวัตกรรมที่ได้จากการวิจัยนำมาเชื่อมโยงกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการศึกษา (DOE: Desired Outcomes of Education) และการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการพัฒนาครูที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน ทั้งนี้ ควรมีการประเมิน วิเคราะห์ความสำเร็จของการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ของแผนการขับเคลื่อน และการประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่โดยเสนอผลการวิจัยที่เป็นนวัตกรรมที่ตรงตามความต้องการของพื้นที่ เพื่อให้เกิดการนำสู่ปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาของชาติต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด