สกศ. จับมือ UNESCO พัฒนาคุณภาพสถิติการศึกษาไทยหนุน Thailand Country Programme เฟส 2

image

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเตรียมการเข้าร่วมโครงการ Country Programme ระยะที่ 2 ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0  ที่มีความสามารถในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาคุณภาพสถิติการศึกษาไทย

วันที่ 7-8 กันยายน 2566 ที่ โรงแรมแซนดาเล รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาคุณภาพสถิติการศึกษาไทยเพื่อกำหนดกรอบการพัฒนาคุณภาพสถิติการศึกษาไทย (Improving the quality of Education Statistics) โดย Mr.Roshan Bajracharya - Senior Regional Advisor และ Mr.Nyi Nyi Thaung - Programme Specialist จาก UNESCO Institute for Statistics Bangkok ให้เกียรติเป็นวิทยากร มีผู้เข้าร่วมประชุมจากมูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (NATCOM) และศูนย์ข้อมูลการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 25 คน

Mr.Roshan Bajrachaya กล่าวว่า โครงการนี้จะช่วยเสริมสร้างระบบสถิติการศึกษาของประเทศไทย โดยดำเนินความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพข้อมูลให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น และยกระดับการติดตามผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งนี้ต้องมีกระบวนการพัฒนาข้อมูลสถิติการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด มีการจัดการความรู้ การสร้างเครือข่ายข้อมูล และการนำข้อมูลถิติการศึกษาไปใช้ประโยชน์ต่อไป

 Mr.Nyi Nyi Thaung  กล่าวเสริมว่า การดำเนินงานโครงการนี้ใช้เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติเป็นตัวตั้ง เมื่อมีการจัดตั้งคณะทำงานชุดนี้ต้องคิดค้นและพัฒนาตัวชี้วัดให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์  Education for All

นายภาณุพงศ์ พนมวัน ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า การประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาเป็นกระบวนการประเมินการจัดทำข้อมูลตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการปรับปรุงสถิติด้านการศึกษาของประเทศ โดยดำเนินการประเมินการปฏิบัติงานของประเทศไทยเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 3 แนวคิด 8 หลักการ ได้แก่ แนวคิดที่ 1 สภาพแวดล้อมขององค์กร มี 3 หลักการคือ กรอบนโยบายและกฎหมาย ความพอเพียงของทรัพยากร และการตอบสนองของผู้ใช้งาน แนวคิดที่ 2 กระบวนการทางสถิติ มี 2 หลักการ คือ ระเบียบวิธีการที่รองรับ และความน่าเชื่อถือและความแม่นยำ และแนวคิดที่ 3 ผลสถิติทางการศึกษามี 3 หลักการ คือ ช่วงเวลาและความทันต่อการใช้งาน ความสอดคล้อง และการเข้าถึงและเข้าใจง่าย ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลด้านการศึกษาระดับประเทศ โดยได้ต้นแบบและวิธีการของ UNESCO เพื่อการประเมินคุณภาพข้อมูลของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล เพื่อการพัฒนากลยุทธ์ในการปรับปรุงสถิติด้านการศึกษาของประเทศต่อไป

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด