สกศ. เยือนเมืองปราสาทหิน จัด Workshop อัปสกิลครูภูมิปัญญาไทยยุคใหม่ ใส่ใจกฎหมายลิขสิทธิ์

image

วันนี้ (๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖) สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัด “กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในภูมิปัญญา/ทรัพย์สินทางปัญญา และเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ครูภูมิปัญญาไทยของ สกศ.” โดย ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนานโยบายด้านการมีส่วนร่วมและการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ (นางสาวกรกมล จึงสำราญ) นำข้าราชการ สกศ. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้านหม่อนไหมโรงเรียนเกษตรต้นแบบของนางรุจาภา เนียนไธสง ครูภูมิปัญญาไทย รุ่น ๙ อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 

.

.

สกศ. ได้สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาไทย โดยร่วมกับ อาจารย์นรินทร์ พสุนธราธรรม - คณะทำงาน อพ.สธ. และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ผศ.ดร.สาวิตรี อกนิษฐ์เสนีย์ - อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมสิ่งทอและการออกแบบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น ซึ่งในปีนี้เริ่มจากครูภูมิปัญญาไทยด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เน้นด้านการทอผ้าเนื่องจากมีผลผลิตที่ชัดเจน โดยทีมวิจัยได้สำรวจความสนใจของครูภูมิปัญญาไทย เพื่อออกแบบการอบรมที่ตอบโจทย์ อธิบายหลักเกณฑ์จดสิทธิบัตร กฎหมายภาษี พร้อมสอนการสร้างแบรนด์ (Branding) ที่ช่วยสร้างรายได้ให้ธุรกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน

.

 

.

กิจกรรมครั้งนี้มีครูรุจาภา เนียนไธสง ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าซิ่นตีนแดงแห่งบุรีรัมย์ และผู้สนใจด้านการทอผ้า เข้าร่วมรับฟังการบรรยายด้านสิทธิในภูมิปัญญา/ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) การจัดตกแต่งร้านทั้งแบบ Online – Offline Shop รวมถึงสอนการออกแบบลายผ้ามัดหมี่ลายอัตลักษณ์ผ้าตีนแดงย้อมสีธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยโปรแกรม Textile Design ก่อนจะร่วมกับฝึกปฏิบัติ (Workshop) การทำผ้ามัดหมี่ การย้อมสี การอบสี และการใช้สารช่วยติดที่ได้จากธรรมชาติเพื่อเพิ่มเฉดสีและลวดลายของผ้าตีนแดงให้หลากหลายมากขึ้น

.

.

จากนี้ สกศ. จะนำองค์ความรู้และข้อเสนอที่ได้มาส่งเสริมให้ครูภูมิปัญญาไทยด้านอื่นๆ ได้ร่วมกันเห็นถึงความสำคัญสิทธิในภูมิปัญญา โดย สกศ. จะร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดทำคู่มือสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิในภูมิปัญญา/ทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับอ่านง่าย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไป

.

image

ภารกิจ ผู้บริหาร ดูทั้งหมด

image

ข่าว สกศ. ดูทั้งหมด